รายงานสรุปสถานการณ์เฝ้าระวังเพื่อควบคุมการบริโภคยาสูบ 5 มิติ

รายงานสรุปสถานการณ์เฝ้าระวังเพื่อควบคุมการบริโภคยาสูบ 5 มิติ

กระทรวงสาธารณสุขมีแนวคิดการปฏิรูประบบงานของทัั้งกระทรวง โดยกำหนดให้มีภาระความรับผิดชอบที่สาคัญ 12 เรื่อง (National Health Authority Function) และหนึ่งในภาระหน้าที่สาคัญคือ การเฝ้าระวังทางสาธารณสุข (National Public Health Surveillance) ซึ่งจะประกอบด้วยการเฝ้าระวังที่สาคัญ 4 ระบบใหญ่ ๆ

ได้แก่ การเฝ้าระวังโรคและภัยสุขภาพ การเฝ้าระวังการส่งเสริมสุขภาพ การเฝ้าระวังด้านอาหารยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ และการเฝ้าระวังการบริการสุขภาพสาหรับระบบเฝ้าระวังโรคและภัยสุขภาพในภาพรวมของประเทศไทยที่เป็นความรับผิดชอบโดยตรงของกรมควบคุมโรค ประกอบด้วย 5 ระบบย่อย ได้แก่ 1.ระบบการเฝ้าระวังโรคติดต่อ 2.ระบบเฝ้าระวังโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 3.ระบบเฝ้าระวังโรคไม่ติดต่อ 4.ระบบเฝ้าระวังการบาดเจ็บ และ 5.ระบบเฝ้าระวังโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมองค์ประกอบการเฝ้าระวังในแต่ละกลุ่มโรคจะมีองค์ประกอบที่ต้องเฝ้าระวังอย่างน้อย 5 มิติ ได้แก่ 1.ปัจจัยต้นเหตุ 2.พฤติกรรมเสี่ยง 3.การตอบสนองของแผนงานควบคุมโรค (Program response) 4.การติดเชื้อ/การป่วย/การตาย/ความพิการ และ 5.เหตุการณ์ผิดปกติ เช่น การระบาดมิติทัั้ง5 มีความหมายโดยย่อ ดังนี้

ปัจจัยต้นเหตุ (Determinants) ได้แก่ รากเหง้าของปัญหำซึ่งหากไม่มีปัจจัยตัวนี้แล้ว โรคหรือภัยสุขภาพนั้นไม่สามารถดาเนินวงจรชีวิตของมันได้ อาจแบ่งง่าย ๆ เป็น Biological determinants และ Social determinants ตัวอย่างเช่น ในกลุ่มโรคติดต่อต่าง ๆ เชื้อโรคทัั้งโรคเก่าหรือโรคอุบัติใหม่ ล้วนเป็นปัจ จัยต้นเหตุทางชีวภาพที่สาคัญที่ต้องเฝ้าระวัง (Biological determinants) แต่ปัจจัยทางเศรษฐกิจสังคม การเมือง (Social determinants) อาจเป็นปัจจัยที่ทาให้โรคเกิดการระบาดขยายตัวลุกลาม เช่น แรงงานอพยพย้ายถิ่นทาให้โรคที่เคยหายไปกลับมาใหม่ ธุรกิจทางเพศทำให้โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เพมิ่ ขึ้น การส่งเสริมการขาย กระตุ้นให้มีการเสพติดบุหรี่และสุรามากขึ้น และนาไปสู่ปัญ หาอื่น ๆ การเพิ่มขึ้นของปริมาณรถจักรยานยนต์ ทำให้การบาดเจ็บทางถนนเพมิ่ มากขึ้น ฯลฯ
พฤติกรรมเสี่ยง (Behavioral risk) มนุษย์เองก็มีพฤติกรรมบางอย่างที่ทาให้ตนเองเสี่ยงและป่วยได้ง่ายขึ้น เช่น การดื่มแล้วขับยานพาหนะต่าง ๆ การไม่สวมหมวกนิรภัย การไม่ใช้ถุงยางอนามัย การรับประทานอาหารดิบ การไม่ออกกาลังกาย การสูบบุหรี่ ฯลฯ และในกลุ่มโรคไม่ติดต่อ เมื่อเกิดพฤติกรรมเสี่ยงหรือพันธุกรรมแล้ว ก็จะทาให้ร่างกายสะสมปัจจัยเสี่ยงทางชีวภาพ (Biological risk factor) เช่น การมีภาวะน้าหนักเกิน อ้วน น้าตาลในเลือดสูง ไขมันในเลือดสูงซึ่งเป็นตัวการให้เกิดโรคเบาหวาน หัวใจหลอดเลือด และโรคมะเร็ง ตามมำจึงมีความจำเป็นต้องเฝ้าระวัง
การตอบสนองของแผนงานควบคุมโรค (Program Response) แผนงานควบคุมโรคที่ดีต้องมีการกาหนดกลุ่มมาตรการสาคัญที่จะแก้ไขปัญหาของโรคนั้น การเฝ้าติดตามความครอบคลุมและความเข้มข้นของการดาเนินงานที่สาคัญของแผนงานควบคุมโรค จะทาให้ทราบว่าเรามีโอกาสประสบความสำเร็จในการควบคุมมากหรือน้อย เช่น ความครอบคลุมของวัคซีนในโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน การลดการรังเกียจเดียดฉันท์ในโรคเอดส์ การเพมิ่ ภาษีบุหรี่ สุรำในการควบคุมเครื่องดื่ม การบังคับใช้กฎหมายในเรื่องการบาดเจ็บทางถนน ฯลฯ
การติดเชื้อ/การป่วย/การตาย/ความพิการ (Infection/Morbidity/Mortality/Disability) เมื่อมีปัจจัยต้นเหตุ มีพฤติกรรมเสี่ยง และไม่ได้รับการแก้ไข มนุษย์ก็จะป่วยและตายหรือพิการด้วยโรคต่าง ๆ โรคติดต่อที่เรื้อรังบางอย่างอาจเรมิ่ ด้วยการติดเชื้อ แต่ยังไม่แสดงอาการ เช่นโรคเอดส์ จึงมีความจำเป็นต้องทาการเฝ้าระวังการติดเชื้อ การป่วย การตาย และความพิการที่เป็นปัญหาสำคัญ พร้อมกันไปทัั้งหมด
เหตุการณ์ผิดปกติและการระบาด (Abnormal event ) การควบคุมโรคนั้นมีจุดมุ่งหมายสุดท้าย คือ การกาจัดกวาดล้างโรคต่าง ๆ ให้หมดไป (Elimination and eradication) แต่ส่วนใหญ่แล้วยังไม่สามารถทาได้ เป้าหมายเบื้องต้น คือ ควบคุมให้อยู่ในระดับที่ไม่ก่อให้เกิดปัญหาหรือผลกระทบรุนแรง จึงมีความจาเป็นต้องเฝ้าระวังเปรียบเทียบจานวนและแบบแผนการเกิดโรค หากพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปหรือเกิดเหตุการณ์ผิดปกติหรือที่ภาษานักระบาดวิทยาเรียกว่าการระบาด ก็มีความจำเป็นต้องออกไปสอบสวนโรคซึ่งจะทำให้เรารวู้ ่าความผิดปกตินั้นมีต้นเหตุจากอะไร เช่นจาก Determinants หรือ Risk behavior หรือ Risk factors อื่น ๆ หรือเป็นเพราะความย่อหย่อนการเฝ้าระวังเป็นการดำเนินงานที่เป็นระบบ ต่อเนื่อง เพื่อติดตามสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพโดยการกำหนดและรวบรวมข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้อง นาเอาข้อมูลเหล่านั้นมาตรวจสอบความถูกต้องเพื่อให้รู้ข้อจากัด วิเคราะห์ความหมาย และสังเคราะห์เป็นข้อความรู้ที่จะนาไปสู่การปรับปรุงการดาเนินงานทางสาธารณสุข

การเฝ้าระวังการบริโภคยาสูบ จึงจัดเป็นองค์ประกอบสาคัญประการหนึ่งของการดาเนินงานเพื่อควบคุมการบริโภคยาสูบของประเทศ เพื่อนาข้อมูลและผลที่ได้จากการเฝ้าระวังนาไปใช้ประโยชน์ดังต่อไปนี้

  • ให้ข้อมูลเชิงปริมาณเพื่อบอกความรุนแรงของโรค / ปัญหาสุขภาพ
  • แสดงธรรมชาติของโรค / ปัญหาสุขภาพตามเวลำสถานที่และบุคคล
  • บอกถึงการแพร่ระบาดของโรค / ปัญหาสุขภาพ
  • สามารถเปรียบเทียบ เพื่อบอกการเปลี่ยนแปลงของโรค / ปัญหาสุขภาพ
  • ประเมินผล / ติดตามของแผนงานหรือกิจกรรมควบคุมป้องกันโรครวมทัั้งระบบบริการสุขภาพ
  • เพื่อกำหนดหรือสนับสนุนสมมุติฐาน
  • ข้อมูลเบื้องต้น สามารถพัฒนาเป็นประเด็นการวิจัย

การบริโภคยาสูบ (Tobacco consumption)
การบริโภคยาสูบถือเป็นปัจจัยเสี่ยงอันดับสองของการสูญเสียสุขภาพของคนไทยแต่ละปีมีคนไทยเสียชีวิตอันเนื่องมาจากโรคเรื้อรังที่มีต้นเหตุจากการสูบบุหรี่และยาเส้นประมาณ 50,000 คน การเฝ้าระวังและควบคุมการบริโภคยาสูบโดยการเฝ้าสังเกต และติดตามสถานการณ์/ปรากฏการณ์การบริโภคยาสูบ และบริบทแวดล้อมที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคยาสูบของประชากรไทยอย่างเป็นระบบ สม่ำเสมอ และต่อเนื่อง ช่วยให้ทราบขนาดของปัญ หำการเกิด การกระจายของปัญหำแนวโน้ม และการเปลี่ยนแปลงสถานะสุขภาพ ฯลฯ นาไปสู่การกำหนดมาตรการที่ชัดเจนต่อกลุ่มเป้าหมายและพื้นที่ที่เหมาะสม ส่งผลให้เกิดสร้างเสริม


พิมพ์