รายงานสถิติการบริโภคยาสูบของประเทศไทย พ.ศ.2561

รายงานสถิติการบริโภคยาสูบของประเทศไทย พ.ศ.2561

1.สถานการณ์ด้านพฤติกรรมการบริโภคยาสูบ ทั่วประเทศ

  • ปี พ.ศ.2560 พบว่า ประชากรที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป เป็นผู้สูบบุหรี่ 10.7 ล้านคน (ร้อยละ 19.1) อัตราการ บริโภคยาสูบตามกลุ่มอายุ15-18 ปีเท่ากับร้อยละ 7.8 โดยในภาพรวม อัตราการสูบบุหรี่มีแนวโน้มลดลง ยกเว้นกลุ่มอายุ 19-24 ปี
    จากปี พ.ศ.2534-2560 อัตราการบริโภคยาสูบของประชากรเพศชายมีอัตราการเปลี่ยนแปลงที่ลดลงน้อยกว่า เพศหญิง คือ ร้อยละ 36.42 และร้อยละ 66 และเพศหญิงมีอัตราการบริโภคยาสูบต่ำสุดจากทุกปีที่ผ่านมา คือร้อยละ 1.7
  • ในปีพ.ศ.2560 อัตราการสูบบุหรี่ของผู้ที่มีระดับการศึกษาประถมศึกษามีอัตราการสูบบุหรี่ปัจจุบันสูงสุด รองลงมาเป็นระดับมัธยมต้น ผู้ที่ไม่เคยเรียน ระดับมัธยมปลายและระดับอุดมศึกษาขึ้นไปคือร้อยละ 22.0 , 21.5, 18.1, 18.0 และ 7.7 ตามลำดับ ทุกระดับการศึกษามีอัตราการสูบบุหรี่ลดลงจากปี 2557 และผู้ที่มี
  • ระดับการศึกษาอุดมศึกษาขึ้นไปอัตราการเปลี่ยนแปลงลดลงมากที่สุดคือร้อยละ 64.68
  • ผู้อยู่อาศัยนอกเขตเทศบาลมีอัตราการสูบบุหรี่สูงกว่าในเขตเทศบาลในทุกรอบการสำรวจ โดยอัตราการ เปลี่ยนแปลงลดลงของนอกเขตเทศบาลสูงกว่าในเขตเทศบาลเล็กน้อย คือ ร้อยละ 39.07 และ 35.61 ตามลำดับ
  • อัตราการสูบบุหรี่ในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทยลดลงอย่างต่อเนื่อง ภาคใต้ยังมีอัตราการสูบบุหรี่ที่สูงที่สุด รองลงมาเป็นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลาง เหนือ และกรุงเทพมหานคร (อัตราการเปลี่ยนแปลงภาคเหนือ กลาง ตะวันออกเฉียงเหนือ กรุงเทพมหานครและใต้เท่ากับร้อยละ 48.48, 39.54, 39.51, 23.34 และ 20.52 ตามลำดับ) แสดงให้เห็นว่ามาตรการในการควบคุมยาสูบที่ผ่านมา ได้ผลดีมากในภาคเหนือ และยังไม่ค่อย ได้ผลในภาคใต้
  • ปีพ.ศ.2560 ประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปที่เริ่มสูบบุหรี่ครั้งแรกของผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำคืออายุ 18.1 ปี ซึ่ง เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปี 2557 ซึ่งมีอายุเฉลี่ยที่เริ่มสูบคือ 17.8 ปี เมื่อเปรียบเทียบในแต่ละกลุ่มวัยในปี 2560 พบว่า กลุ่มเยาวชน มีอายุเฉลี่ยที่เริ่มสูบ 16.2 ปี ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2557 คือ 15.6 ปี ส่วนในกลุ่มวัยทำงาน และกลุ่มสูงอายุมีอายุเฉลี่ยที่เริ่มสูบไม่แตกต่างกันมากในแต่ละปี โดยจะอยู่ในช่วงประมาณ 18-19 ปี
  • ผู้บริโภคยาสูบปัจจุบันอายุ 15 ปีขึ้นไป ระหว่างปี พ.ศ.2547-2554 มีสัดส่วนของผู้สูบบุหรี่ซองและบุหรี่มวน เองเกือบอย่างละ 50% ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2556 พบว่ามีสัดส่วนของผู้สูบบุหรี่ซองสูงกว่าผู้สูบบุหรี่มวนเอง ในปีพ.ศ. 2560 ประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปที่สูบบุหรี่เป็นประจำ นิยมสูบบุหรี่ที่ผลิตจากโรงงานสูงถึงร้อยละ 56 รองลงมาคือบุหรี่มวนเองร้อยละ 49.3 ส่วนประเภทอื่นมีร้อยละ 0.1
  • ผู้สูบบุหรี่เป็นประจำมีจำนวนบุหรี่ที่สูบเฉลี่ยต่อวันลดลงจากทุกปีที่ผ่านมาเหลือเพียง 10 มวนต่อวัน ในปี พ.ศ.2560 (ในปีพ.ศ.2554 และพ.ศ. 2557 จำนวนบุหรี่ที่สูบโดยเฉลี่ยต่อวัน เป็น 10.8 และ 11.5 มวนต่อวัน)
  • ในปี พ.ศ.2560 พบว่า ผู้สูบบุหรี่มีค่าใช้จ่ายในการซื้อผลิตภัณฑ์ยาสูบเฉลี่ยต่อเดือนเท่ากับ 546 บาท
  • ผลการสำรวจของโครงการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และดื่มสุราของประชากรไทย พ.ศ.2560 จากการ สอบถามสมาชิกในครัวเรือนที่สูบบุหรี่ พบว่า มีร้อยละ 32.7 ที่เคยมีการสูบบุหรี่ในตัวบ้าน
    ส่วนการได้รับควันบุหรี่มือสองในที่สาธารณะ พบว่า ตลาดสดหรือตลาดนัดและร้านอาหาร/ภัตตาคาร/ สถานที่ที่จำหน่ายอาหารเครื่องดื่มเป็นสถานที่ที่มีการพบเห็น/ได้กลิ่น/พบเห็นก้นบุหรี่มากที่สุด

2.สถานการณ์ด้านพฤติกรรมการบริโภคยาสูบ รายจังหวัด

  • ในปี พ.ศ.2554 10 จังหวัดทีมีอัตราการบริโภคยาสูบสูงสุด ได้แก่ 1) แม่ฮ่องสอน, 2) สตูล, 3) ปัตตานี, 4)ระนอง, 5) นครศรีธรรมราช, 6) สุราษฎร์ธานี, 7) ขอนแก่น8) กาญจนบุรี, 9) ตรังและ 10) หนองบัวลำภู ตามลำดับ โดยจังหวัดที่สามารถหลุดพ้นจากอัตราการบริโภคสูงสุด 10 อันดับ ในปีพ.ศ.2560 คือ แม่ฮ่องสอน, ปัตตานี, ขอนแก่น, กาญจนบุรี, และ หนองบัวลำภู
  • ในปี พ.ศ.2560 10 จังหวัดที่มีอัตราการบริโภคยาสูบสูงสุด ได้แก่ 1) กระบี่, 2)นครศรีธรรมราช, 3) สตูล, 4)
    สกลนคร, 5) ระนอง, 6) สงขลา, 7) อุดรธานี, 8) สุราษฎร์ธานี, 9) พัทลุงและ 10) ตรัง ตามลำดับ โดยจังหวัด ที่มีอัตราลดลงจากปีพ.ศ.2554 คือ สตูล ลดลงจากร้อยละ29.42 เป็น 26.9, ระนอง ลดลงจาก 27.64 เป็น 25.5, สุราษฎร์ธานี ลดลงจาก 26.97 เป็น 24.4, และ ตรัง ลดลงจาก 26.39 เป็น24.2 ที่เหลืออีก 6 จังหวัด เพิ่มขึ้น
  • อัตราการได้รับควันมือสองรายจังหวัดสูงสุดสิบอันดับ ส่วนใหญ่ ก็สอดคล้องกับอัตราบริโภคยาสูบรายจังหวัด

3.สถิติปริมาณยาสูบที่ผลิตและเสียภาษี

  • ในปี 2560 ปริมาณบุหรี่ที่จำหน่าย จำนวน 1,951 ล้านซอง ลดลงจากปี 2557 (จำนวน 2,004 ล้านซอง)
    ส่วนแบ่งการตลาดของบุหรี่โรงงานยาสูบ เคยอยู่ที่ร้อยละ 77 ในปีพ.ศ.2559 ลดลงหลังพรบ.สรรพสามิต พ.ศ.2560ประกาศใช้ ต่อมาปรับตัวขึ้นได้บ้างเล็กน้อย แต่ก็ยังน้อยกว่าร้อยละ 70
    จำนวนผู้เพาะปลูกลดลงเป็นลำดับ จนเหลือ 31,275 ราย ในฤดูกาล 2559/2560
  • พื้นที่เพาะปลูกและปริมาณการรับซื้อมีแนวโน้มลดลงตั้งแต่ฤดูกาลผลิต 2557/2558 - 2559/2560 หลัง พรบ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2560 บังคับใช้ เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2560 ซึ่งเป็นการเปลี่ยนฐานในการ คำนวณภาษีและอัตราภาษีให้สอดคล้องกับฐานภาษีที่เปลี่ยนไป ภาษีสรรพสามิตในปัจจุบันมีการจัดเก็บแบบ ผสม (Mixed System) โดยจัดเก็บทั้ง
  • อัตราตามปริมาณและมูลค่า และคำนวณอัตราภาษีจากราคาขายปลีกของราคาขายปลีก ส่วนบุหรี่ซิกาแรตยอดนิยมที่นำเข้ามีสัดส่วนภาษีประมาณร้อยละ 75 ของราคาขาย ปลีก

4. สรุปและข้อเสนอแนะ

  • ควรลงทุนโครงการจังหวัดปลอดบุหรี่เข้มข้นควบคู่กับการวิจัยประเมินผล ในจังหวัดที่มีอัตราการบริโภค ยาสูบสูง ซึ่งโครงการนำร่องในปีพ.ศ.2555-2556 10 จังหวัด ได้ส่งผลให้จังหวัดมีอัตราการบริโภคยาสูบ ลดลงชัดเจน เช่น แม่ฮ่องสอน, ปัตตานี, ขอนแก่น, และ หนองบัวลำภู เป็นต้น ประกอบไปด้วยมาตรการ โรงเรียนปลอดบุหรี่, การจัดสถานที่ปลอดบุหรี่และบังคับใช้กฎหมาย, มาตราการเฝ้าระวังการส่งเสริมการ ขาย, และมาตราการช่วยเลิกบุหรี่ในระดับชุมชนและสถานพยาบาล
  • ควรเร่งบังคับใช้ มาตราการต่างๆภายใต้พรบ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบพ.ศ.2560 ซึ่งจะมีผลช่วยในการ ควบคุมการโฆษณา และส่งเสริมการขายบุหรี่ซิกาแรต
  • การบริโภคยาเส้น ถูกใช้ทดแทนบุหรี่ซิกาแรตเมื่อมีการขึ้นภาษี ดังนั้นจำเป็นต้องขึ้นภาษียาเส้นขายปลีก ควบคู่ไปกับการขึ้นภาษีบุหรี่ซิกาแรตด้วย
  • สนับสนุนผู้สูบบุหรี่ให้เลิกบุหรี่ได้สำเร็จด้วยมาตรการทางสังคมในชุมชน เพื่อความยั่งยืนในการควบคุม ยาสูบ

พิมพ์