ศจย. คือ ใคร ?

วิสัยทัศน์ (Vision)

ศจย. ดำเนินการเป็นศูนย์วิชาการและจัดการความรู้ มุ่งสู่ความเป็นผู้นำด้านจัดการและสร้างองค์ความรู้เชิงประจักษ์เพื่อการควบคุมยาสูบของประเทศไทย ด้วยกระบวนการและผลงานที่อยู่ในมาตรฐานวิชาการและจริยธรรม และมีภาคีเครือข่ายต่างประเทศทั้งในระดับภูมิภาค ระดับนานาชาติ

พันธกิจ (Mission)

ศจย. มุ่งสร้างเสริมการวิจัยให้สามารถถ่ายทอดไปสู่การใช้ประโยชน์ทั้งเชิงนโยบายในระดับประเทศและการปฏิบัติการในระดับพื้นที่พร้อมส่งเสริมด้านการพัฒนานักวิจัยและขับเคลื่อนเสริมสร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในการวิจัยด้านการควบคุมการบริโภคยาสูบ ให้สามารถตอบสนองต่อเป้าหมายในการจัดการความรู้ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาระบบสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล

วัตถุประสงค์ (Objectives)

ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ จะดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของการก่อตั้งศูนย์ฯ คือเป็นศูนย์กลางด้านวิชาการเพื่อการควบคุมและป้องกันและแก้ไขปัญหาการบริโภคยาสูบของประเทศไทย โดยระยะดำเนินการนี้ มีวัตถุประสงค์เฉพาะดังนี้

นโยบายที่ 1

1) เพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการและระบบสนับสนุนงานวิจัย

มีการบูรณาการแผนและประสานงานกับหน่วยงานวิจัยอื่น เพื่อพัฒนางานวิชาการที่สำคัญในการควบคุมการบริโภคยาสูบ ทั้งในเชิงนโยบาย ตลอดจนศึกษาผลลัพธ์และผลกระทบจากการบริโภคยาสูบในมิติด้านสุขภาพ สังคม เศรษฐกิจ นำไปสู่การเผยแพร่ โดยเฉพาะที่สามารถใช้ในการผลักดันเป็นนโยบายสาธารณะเพื่อการควบคุมการบริโภคยาสูบ

นโยบายที่ 1

นโยบายที่ 2

2) สังเคราะห์งานวิชาการเพื่อผลักดันข้อเสนอเชิงนโยบาย(Policy Advocacy)

จากการถอดบทเรียนและจัดการองค์ความรู้ด้านการควบคุมการบริโภคยาสูบ และดำเนินการให้มีการถ่ายทอดผ่านสื่ออย่างต่อเนื่อง(Media Advocacy) โดยเฉพาะข้อเสนอที่สามารถผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระดับประเทศและนำไปสู่การรณรงค์กับภาคส่วนต่างๆในสังคมรวมทั้งสนับสนุนการจัดทำรายงานผลและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับหน่วยงานสากลตามกรอบอนุสัญญาขององค์การอนามัยโลกว่าด้วยการควบคุมยาสูบ (WHO Framework Convention on Tobacco Control: FCTC)

นโยบายที่ 3

3) พัฒนาระบบฐานข้อมูลงานวิจัย องค์ความรู้ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการบริโภคยาสูบ (Big data)

รวมทั้งเป็นศูนย์กลางเผยแพร่ผลงานวิจัยและองค์ความรู้ ข้อมูลข่าวสารด้านการควบคุมการบริโภคยาสูบสื่อสารข้อมูลวิจัยต่อผู้กำหนดนโยบายและผู้ขับเคลื่อนทั้งระดับประเทศและระดับพื้นที่

นโยบายที่ 3

นโยบายที่ 4

4) สร้างและพัฒนาเครือข่ายนักวิชาการด้านการควบคุมยาสูบ

(knowledge generator) เชื่อมต่อกับผู้ใช้ข้อมูลความรู้ (knowledge user) ในระดับต่างๆ เพื่อสนับสนุนงานการควบคุมยาสูบอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน

สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา
Image
Image