ข้อเสนอเชิงนโยบายเรื่อง มาตรการและแรงจูงใจ

ข้อเสนอเชิงนโยบายเรื่อง มาตรการและแรงจูงใจ

ข้อเสนอเชิงนโยบายเรื่อง มาตรการและแรงจูงใจให้ลดการบริโภคยาสูบในกลุ่มแรงงานอุตสาหกรรมและการเกษตรบุหรี่เป็นสาเหตุของโรคร้ายอย่างน้อย 25 โรค อาทิ โรคของระบบทางเดินหายใจ หัวใจ และระบบหมุนเวียนโลหิต โรคหลอดเลือดสมอง และโรคมะเร็งของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย ควันบุหรี่มีสารเคมีอยู่มากกว่า 7,000 ชนิด

โดยสารเคมีอย่างน้อย 250 ชนิดเป็นอันตรายต่อร่างกาย และอย่างน้อย 69 ชนิด เป็นสารเคมีที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง เช่น สาร arsenic, benzene, beryllium, โลหะหนัก และฟอร์มาลดีไฮด์ เป็นต้น ซึ่งการได้รับควันบุหรี่มือสองแม้ในระดับต่ำก็ทำให้เกิดอันตรายได้

WHO รายงานว่า ปัจจุบันมีผู้ที่เสียชีวิตจากการสูบบุหรี่เกือบ 6 ล้านคนต่อปี และมากกว่า 5 ล้านคนจากการเสียชีวิตนี้เกิดจากการสูบบุหรี่โดยตรง ในขณะที่มากกว่า 600,000 คน เสียชีวิตจากการได้รับควันบุหรี่มือสอง ถ้าไม่มีการแก้ปัญหาโดยเร่งด่วน จะมีผู้เสียชีวิตมากถึง 8 ล้านคนต่อปี ในปี ค.ศ.2030 ในกรณีของประเทศไทย สำนักควบคุมการบริโภคยาสูบ กรมควบคุมโรค รายงานว่าคนไทยเสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ปีละประมาณ 52,000 คน เฉลี่ยวันละ 142 คน หรือชั่วโมงละ 6 คน โดยสูบบุหรี่จากโรงงานอย่างเดียวมากที่สุด 5.1 ล้านคน รองลงมาคือบุหรี่มวนเอง 4.7 ล้านคน

นอกจากความสูญเสียต่อภาวะสุขภาพแล้ว บุหรี่ยังก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจแก่ประเทศ อย่างมากมาย จากการทบทวนวรรณกรรมพบว่า บุหรี่ก่อให้เกิดต้นทุนแก่ผู้สูบ รัฐบาลและสังคม ในรูปของค่าบุหรี่ ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล รายได้ที่ต้องสูญเสียจากการขาดงาน การสูญเสียประสิทธิภาพในการทำงาน


พิมพ์