ข้อเสนอเชิงนโยบายเรื่องการควบคุมบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์

ข้อเสนอเชิงนโยบายเรื่องการควบคุมบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์

บุหรี่อิเล็กโทรนิกส์มีการกล่าวอ้างในการช่วยเลิกบุหรี่ แต่ยังไม่มีหลักฐานเชิงวิทยาศาสตร์ที่รับรองประสิทธิผลและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ซึ่งมีสารนิโคตินสูงถึง 4-24 มิลลิกรัม สูงกว่าบุหรี่ธรรมดากว่า 10 เท่าในขณะที่บุหรี่ธรรมดามีสารนิโคตินเพียง 1.2 มิลลิกรัม ผู้ผลิตบางรายแต่งรสและกลิ่นผลไม้หรือสมุนไพร ซึ่งอาจจะเป็นการเพิ่มจำนวนนักสูบหน้าใหม่

และมีขายทางอินเตอร์เน็ทในประเทศไทยแล้ว จึงควรมีการควบคุมไม่ให้แพร่หลาย

บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ (e-cigarette) มีลักษณะรูปร่างของผลิตภัณฑ์และวิธีการสูบมีลักษณะเช่นเดียว กับบุหรี่ กล่าวคือมีลักษณะเป็นแท่งยาวกว่าบุหรี่ธรรมดาเล็กน้อย ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ส่วนแรกสำหรับบรรจุแบตเตอรี่เพื่อทำให้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ขนาดจิ๋วทำงานแทนการจุดไฟ ส่วนที่สองคือส่วนที่ทำให้เกิดอะตอมเพื่อทำให้สารเกิดการแตกตัวด้วยความร้อน และส่วนที่สามคือแท่งหลอดบรรจุ ใช้สำหรับบรรจุขวดของเหลวขนาดเล็ก (cartridge) และสารเคมีโพรไพลีนไกลคอลอยู่ในสถานะของเหลวที่จะทำให้เกิดเป็นละอองหมอกมองดูคล้ายควันบุหรี่เวลาสูบ แท่งหลอดบรรจุนี้สามารถถอดเปลี่ยนได้โดยสามารถเลือกความเข้มข้นของนิโคตินได้และต่ออยู่กับส่วนที่ใช้สูบลักษณะแบน (mouthpiece) บริเวณปลายมวนจะมีไฟสีแดงแสดงขณะสูบ

องค์การอนามัยโลก จัดบุหรี่อิเล็กโทรนิกส์เป็นผลิตภัณฑ์ส่งผ่านนิโคตินอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Nicotine Delivery Systems: ENDS) พบแพร่หลายในประเทศร่ำรวย อย่างน้อยใน 16 ประเทศ เนื่องจาก มีราคาค่อนข้างสูง อย่างไรก็ดีปัจจุบันได้มีการพัฒนาเป็นรูปแบบใช้แล้วทิ้งเลย โดยวางจำหน่ายผ่านช่องทางต่างๆ พบแพร่หลายสูงสุดทางอินเตอร์เน็ท และห้างสรรพสินค้า มักมีการกล่าวอ้างในการช่วยเลิกบุหรี่แต่ยัง ไม่มีหลักฐานเชิงวิทยาศาสตร์ที่รับรองประสิทธิผลและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ดังกล่าว บางประเทศ มีกฎหมายควบคุมผลิตภัณฑ์ดังกล่าวแล้ว เช่น ในแคนนาดา ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวอยู่ภายใต้การควบคุมของ the Food and Drugs Act ซึ่งต้องมีการขออนุญาตการนำเข้า การโฆษณา และการวางจำหน่าย ประเทศบราซิล ห้ามจำหน่าย นำเข้า และโฆษณาบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ ประเทศออสเตรเลีย ห้ามการจำหน่ายของบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์และสารบรรจุสารนิโคติน

จากการสำรวจพบว่าผู้ใช้บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ ใน 4 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร แคนาดา และออสเตรเลีย พบว่าประชาชนผู้สูบ ร้อยละ 79.8 เข้าใจว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีอันตรายต่อสุขภาพน้อยกว่าบุหรี่ทั่วไป ร้อยละ 85.1 ใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวในการช่วยเลิกบุหรี่ และร้อยละ 75.4 ใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวในการลดปริมาณการสูบบุหรี่ โดยมากกว่าร้อยละ 80 ใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวในเขตปลอดบุหรี่
แนวทางการควบคุมผลิตภัณฑ์ส่งผ่านนิโคติน
องค์การอนามัยโลกได้สรุปแนวทางการควบคุมผลิตภัณฑ์ส่งผ่านนิโคตินจากประสบการณ์ของประเทศภาคีสมาชิก ไว้เป็น 2 แนวทาง กล่าวคือ การควบคุมตัวอุปกรณ์ และการควบคุมของเหลวที่ใช้บรรจุลง ในอุปกรณ์ ซึ่งแตกต่างกันไปตามกฎหมายภายในของแต่ละประเทศ ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมสารนิโคติน และสารสกัดจากใบยาสูบ..

รายละเอียดตามเอกสารแนบค่ะ


พิมพ์