สมาคมวิชาชีพเกี่ยวกับสุขภาพเด็กและเยาวชน ส่งสารต่อรัฐบาลชุดใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้น ให้ตระหนัก เร่งแก้ปัญหาบุหรี่ไฟฟ้าในสังคมไทย ชี้ต้องคงไว้ซึ่งกฎหมายห้ามนำเข้าห้ามขายบุหรี่ไฟฟ้า และเร่งรัดให้มีการบังคับใช้กฎหมายห้ามขายบุหรี่ไฟฟ้าโดยเฉพาะบนสื่อออนไลน์ที่กำลังเป็นปัญหาในปัจจุบัน อย่างเข้มงวด จริงจัง เพื่อความปลอดภัยของเด็กและเยาวชนไทย
วารสารอังกฤษชื่นชมไทย ตัดสินใจรวดเร็ว “ห้ามนำเข้า ห้ามขาย บุหรี่ไฟฟ้า” วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันแพร่ระบาดในเยาวชน ผศ.ดร.นพ.วิชช์ เกษมทรัพย์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) กล่าวว่า เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ.2566 สองวันหลังจากที่รัฐบาลออสเตรเลียประกาศนโยบายห้ามนำเข้าบุหรี่ British Medical Journal
ป้องกัน ซื้อ-ขาย บุหรี่ไฟฟ้า บนสื่อออนไลน์ ผศ.ดร.นพ.วิชช์ เกษมทรัพย์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) กล่าวถึง บทความ ‘Protecting Youth From Online E-Cigarette Marketing: Findings From a New Study in India, Indonesia and Mexico’ ซึ่งเป็นการศึกษาการทำการตลาดบุหรี่ไฟฟ้าบนสื่อออนไลน์ ระหว่าง 15 ธันวาคม ค.ศ.2021 – 16 มีนาคม ค.ศ.2022 ใน 3 ประเทศ คือ 1. อินเดีย ซึ่งห้ามนำเข้า ห้ามขาย และห้ามโฆษณาบุหรี่ไฟฟ้า ตั้งแต่ ค.ศ.2019 2. อินโดนีเซีย ซึ่งไม่มีกฎหมายควบคุมบุหรี่ไฟฟ้า และ 3. เม็กซิโก ซึ่งมีกฎหมายห้ามนำเข้าบุหรี่ไฟฟ้าอย่างเดียวก่อน ค.ศ.2022 จนกระทั่ง พฤษภาคม ค.ศ.2022 ห้ามสมบูรณ์แบบ ทั้งห้ามนำเข้า ห้ามขาย และห้ามโฆษณาบุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งพบว่า
- ประเทศที่มีกฎหมายห้ามขายบุหรี่ไฟฟ้า จะสามารถควบคุมการซื้อขายบนตลาดออนไลน์ได้ดีกว่าประเทศที่ไม่มีกฎหมายควบคุมบุหรี่ไฟฟ้า โดยปริมาณของบุหรี่ไฟฟ้าในตลาดออนไลน์ในอินโดนีเซีย, เม็กซิโก และอินเดีย เท่ากับ 70, 25 และ 10% ตามลำดับ
- แม้ว่าบุหรี่ไฟฟ้าจะถูกอ้างว่าใช้เพื่อเลิกบุหรี่ธรรมดา ห้ามขายให้เยาวชน แต่พบว่าตลาดบุหรี่ไฟฟ้าบนสื่อออนไลน์กลับทำการตลาดที่ทันสมัย มีเสน่ห์ เท่ห์ โดยเน้นที่กลิ่น สี และการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ฉูดฉาด ทันสมัย และแฟชั่นเฉพาะกลุ่ม เช่น การ์ตูน ตามราศี ผู้หญิง หุ่นยนตร์ ซุปเปอร์ฮีโร่ ซึ่งพบการตลาดล่าเหยื่อมุ่งเป้าเยาวชนถึง 86, 73 และ 53% ในอินเดีย, เม็กซิโก และอินโดนีเซีย ตามลำดับ
- ในข้อมูลบนสื่อโซเชียลมีเดีย มีเพียงจำนวนน้อยที่ประชาสัมพันธ์ถึงอันตรายของบุหรี่ไฟฟ้า คือพบเพียง 8% ในเม็กซิโก 0.3% ในอินโดนีเซีย และไม่พบเลยในอินเดีย
ดังนั้น รัฐบาลไทย นอกจากต้อง ‘คงมาตราการห้ามนำเข้าและห้ามขายบุหรี่ไฟฟ้า’ ซึ่งเป็นมาตรการที่ดีที่สุดแล้ว จะต้องเร่งรัด ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งบังคับใช้กฎหมายจับกุมผู้กระทำความผิด ที่ลักลอบนำเข้าและขายบุหรี่ไฟฟ้าทางสื่อออนไลน์ เพื่อปกป้องเยาวชนจากการตลาดล่าเหยื่อนี้ พร้อมทั้งเร่งให้ความรู้แก่เยาวชนบนสื่อออนไลน์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
รายละเอียดติดต่อ: หริสร์ ทวีพัฒนา นักวิชาการ ศจย. โทร: 061-7244411 Email: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
Press Release
ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.)
ข่าวเผยแพร่: วันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ.2566 (วันที่ข่าวตีพิมพ์สามารถเผยแพร่ได้ทันที)
ศ.พญ.สุวรรณา เรืองกาญจนเศรษฐ์ ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ คณะแพทยศาสตร์รพ.รามาธิบดี เปิดเผยว่า ทีมนักวิจัยจากสถาบันสาธารณสุข ประเทศเม็กซิโก ได้ทบทวนงานวิจัย 697 ชิ้น ที่เกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่ไฟฟ้า ระหว่าง ค.ศ.2017-2020 ถึงความสัมพันธ์ของการมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับธุรกิจ และประเทศที่มาของงานวิจัย
ผศ.ดร.นพ.วิชช์ เกษมทรัพย์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) กล่าวว่า ปัจจุบันบุหรี่ไฟฟ้าเป็นปัญหาสาธารณสุขทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศที่ขายบุหรี่ไฟฟ้าได้อย่างถูกกฎหมาย ได้เกิดวิกฤตการแพร่ระบาดบุหรี่ไฟฟ้าในเยาวชน อาทิ ประเทศนิวซีแลนด์ ซึ่งจากการสำรวจของกระทรวงสาธารณสุข อัตราการสูบบุหรี่ไฟฟ้าของเยาวชน