การประชุมคณะทำงานจัดทำแนวทางการจัดการเรียนรู้ เรื่อง "บุหรี่ไฟฟ้าในสถานศึกษาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ"
ในวันที่ 20 เมษายน 2566 เวลา 9:00-16:30 น. ณ ห้องประชุมจันทรเกษม ชั้น 2 อาคารราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ

การอบรมเชิงปฏิบัติการณ์ ให้มีความรู้และเข้าใจถึงอันตรายของบุหรี่ไฟฟ้าและกลยุทธ์ของบริษัทบุหรี่ ในแคมแปญ “คนไทยไม่เอาบุหรี่ไฟฟ้า” มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ผนึกกำลังร่วมกับเครือข่ายสื่อมวลชนภูมิภาค และตัวแทนจุดจัดการเครือข่ายครูเพื่อโรงเรียนปลอดบุหรี่ 10 โรงเรียน รวมผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น 100 คน
วันที่ 27 กันยายน 2565 ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) กองงานคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ กรมควบคุมโรค สถาบันยุวทัศน์แห่งประเทศไทย และสมาพันธ์เครือข่ายแห่งชาติเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ ร่วมกันชี้แจงถึง #ปัญหาผลกระทบของบุหรี่ไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็น มิติทางด้านสุขภาพ สังคม และผลกระทบต่อเยาวชน
ในวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2564 ณ โรงแรมเอเชีย | โดย ศ.นพ.รณชัย คงสกนธ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสังเคราะห์นโยบาย ในหัวข้อ “ภาษีบุหรี่ มุมมองทางเศรษฐศาสตร์และนิติศาสตร์” ศ.นพ.รณชัย ได้กล่าวว่า มาตรการทางด้านราคาและภาษีจัดเป็นมาตรการที่สำคัญมาตรการหนึ่งในการลดอุปสงค์ของยาสูบ ตามกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบขององค์การอนามัยโลก
วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 11.00-12.00 น. ณ ห้องประชุม 418 อาคารเรียนและปฏิบัติการรวมด้านการแพทย์และโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โดย ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) ได้จัด "การประชุมเตรียมรายงานผล Critical appraisal งานวิจัยประเด็นบุหรี่ไฟฟ้า" เพื่อเสนอต่อ สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน
ในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 09.00-12.00 น. ณ ห้องประชุม 812 อาคารเรียนและปฏิบัติการรวมด้านการแพทย์และโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โดย ศ.นพ.รณชัย คงสกนธ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาวูบ (ศจย. ) ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการประชุม ด้วยการเปิด Siren เพื่อส่งสัญญาณ