การประชุมวิชาการบุหรี่กับสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 7

การประชุมวิชาการบุหรี่กับสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 7

เรื่อง “เยาวชนรุ่นใหม่ ร่วมใจ ต้านภัยบุหรี่” วันที่ 4-5 สิงหาคม พ.ศ. 2551 ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น ถนนวิภาวดีรังสิต กรุงเทพฯ ความเป็นมา การประชุมวิชาการบุหรี่กับสุขภาพ แห่งชาติเป็นเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างภาคีเครือข่าย หน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานควบคุมการบริโภคยาสูบในประเทศ ไทย ซึ่งมีการจัดอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี ประเด็นในการสร้างกระแสและขับเคลื่อนจะเป็นไปตามข้อเสนอแนะขององค์การอนามัย

โลกที่ปรากฏในคำขวัญวันงดบุหรี่โลก และจะมีการดำเนินการรณรงค์อย่างเข้มข้นในช่วงเดือนพฤษภาคมของทุกปี

ใน ปี พ.ศ.2551 องค์การอนามัยโลกได้ให้คำขวัญ “Tobacco-Free Youth” ให้แก่ประเทศสมาชิกและประชาคมโลก โดยให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับกลุ่มเป้าหมาย “เยาวชน” ซึ่งประเทศไทยได้ขานรับแนวทางดังกล่าวและได้ให้ความหมายเพื่อเป็นทิศทางใน การขับเคลื่อนในสังคมไทย ด้วยคำขวัญว่า “เยาวชนรุ่นใหม่ ร่วมใจ ต้านภัยบุหรี่” ซึ่งคำขวัญของสังคมไทยแสดงให้เห็นถึงเจตนารมย์ในการทำงานควบคุมยาสูบในกลุ่ม เยาวชนที่มุ่งเป้าหมายทำให้เยาวชนปลอดบุหรี่ และเป็นผู้ปฏิบัติการในการแสดงพลังในการป้องกันเยาวชนจากพิษภัยของบุหรี่ และการควบคุมการสูบบุหรี่ในหมู่เยาวชน

เหตุ ที่กลุ่มเยาวชนได้รับการหยิบยกให้เป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญในการควบคุม ส่วนหนึ่งเป็นเพราะสถานการณ์การสูบบุหรี่ของเยาวชนเป็นปัญหาที่มีแนวโน้ม เพิ่มขึ้นด้วยผลพวงของการโฆษณาและส่งเสริมการขายของอุตสาหกรรมยาสูบที่ พยายามทำการตลาดกับกลุ่มเยาวชนในฐานะนักสูบหน้าใหม่และลูกค้ารายใหญ่ด้วย เช่นกัน ดังนั้น สถานการณ์การสูบบุหรี่ของเยาวชนจึงยังคงเป็นปัญหาที่ยากแก่การควบคุม จากรายงานการเฝ้าระวังการสูบบุหรี่ของเยาวชนขององค์การอนามัยโลกโดยศูนย์ควบ คุมและป้องกันโรคสหรัฐอเมริกา (CDC) ในช่วงปี 2543-2550 ชี้ให้เห็นปัญหาการสูบบุหรี่ของเยาวชนอายุ 13-15 ปีในประเทศต่าง ๆ ซึ่งอัตราการสูบบุหรี่ของเยาวชนไทยเมื่อเทียบกับสังคมโลกแล้ว ก็นับได้ว่ายังคงเป็นปัญหาที่ต้องเฝ้าระวังและดำเนินการกันอย่างจริงจัง

ดังนั้นจึงเป็นภารกิจที่ท้าทายในการทำงานควบคุมยาสูบในกลุ่มเยาวชน ที่เรียกร้องพลังจากสถาบันสังคม หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน และบุคคลต่าง ๆ ในสังคมที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสื่อ ที่จะต้องร่วมมือกันในการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ปลอดจากพิษภัยของบุหรี่และ กลยุทธ์ของอุตสาหกรรมยาสูบ และการสร้างภูมิคุ้มกันและพลังให้แก่เยาวชนในการมีส่วนร่วมกันในพัฒนาเยาวชน ให้มีศักยภาพในการต้านภัยบุหรี่ ที่สอดคล้องกับความมุ่งหวังดังที่ปรากฏในคำขวัญวันงดบุหรี่โลกในปีนี้ ซึ่งการจัดเวทีประชุมวิชาการฯ ครั้งนี้จึงถือเป็นส่วนหนึ่งของภารกิจที่ภาคีผู้ร่วมจัดงานและผู้มีส่วน เกี่ยวข้องทั้งหลายจะได้มีส่วนร่วมกันในการแสดงพลังในควบคุมยาสูบในกลุ่ม เยาวชนของประเทศไทย เพื่อสร้างสรรค์เยาวชนไทยให้ปลอดบุหรี่และเป็นอนาคตของชาติต่อไป


พิมพ์