การประชุมวิชาการบุหรี่กับสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 8

การประชุมวิชาการบุหรี่กับสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 8

เรื่อง “สิ่งคุกคามใหม่จากอุตสาหกรรมยาสูบ” วันที่ 24-25 สิงหาคม 2552 ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น ถ.วิภาวดีรังสิต กรุงเทพฯ ความเป็นมา การประชุมวิชาการบุหรี่กับสุขภาพแห่งชาติเป็นเวทีวิชาการใน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันในแวดวงผู้ที่ทำงานด้านการควบคุมยาสูบทั้ง นักวิชาการ นักวิจัย คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ภาครัฐ ภาคประชาสังคม ตลอดจนผู้สนใจทั่วไปที่จะมีโอกาสได้พบปะ แลกเปลี่ยน

รับฟังการนำเสนอข้อมูลวิชาการที่เกิดขึ้นในรอบปีเพื่อนำไปสู่การพัฒนางาน ด้านการควบคุมยาสูบในอนาคต
แม้ว่าประเทศไทยจะมีกฎหมายที่ใช้ในการควบคุมการบริโภคยาสูบที่ดี แต่ก็ยังมีจุดอ่อนอีกหลายด้านที่เป็นข้อจำกัดที่ทำให้การควบคุมการบริโภคยา สูบไม่ได้ผลสูงสุดและมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร สถานการณ์การสูบบุหรี่โดยภาพรวมแม้จะสะท้อนความสำเร็จของการดำเนินงาน หากแต่เมื่อพิจารณาประชากรกลุ่มเป้าหมายในหลายมิติ พบว่า อัตราการสูบบุหรี่ในเพศชาย อายุ 19 -59 ปี สูงกว่าร้อยละ 40 จำนวน ผู้เลิกสูบบุหรี่มีถึง 18% แต่ทดแทนด้วยผู้สูบหน้าใหม่ที่มีอัตราเพิ่มขึ้น ในกลุ่มเยาวชน 15 – 18 ปี และ 19 – 24 ปี มีอัตราสูบบุหรี่ร้อยละ 7.25 และร้อยละ 21.27 ในปี 2550 ตามลำดับ และที่น่าตกใจคือ ร้อยละ 69 ของผู้สูบบุหรี่เยาวชนเพศหญิง (15-24 ปี) เริ่มสูบบุหรี่ตั้งแต่อายุ 14 ปี ผู้สูบบุหรี่ส่วนใหญ่ อยู่ในกลุ่มผู้ด้อยโอกาส มีการศึกษาน้อย อยู่ในชนบท และยากจน

ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งมาจากปัจจัยคุมคามภายนอก รวมทั้ง การค้าเสรี ที่เปิดโอกาสให้อุตสาหกรรมยาสูบมีการแข่งขันทางด้านการตลาด ส่งผลทำให้ประชาชนบริโภคยาสูบเพิ่มขึ้น การแก้ไขปัญหาการบริโภคยาสูบไม่สามารถจะทำได้โดยบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือ องค์กรใดองค์กรหนึ่ง ฉะนั้นศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมการยาสูบ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับเครือข่ายวิชาชีพสุขภาพเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ สถาบันส่งเสริมสุขภาพไทย ศูนย์เลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์ มูลนิธิเพื่อสังคมปลอดบุหรี่ (SEATCA) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ จึงได้จัดให้มีการประชุมวิชาการ “บุหรี่กับสุขภาพแห่งชาติ” ครั้งที่ 8 เรื่อง “สิ่งคุกคามใหม่จากอุตสาหกรรมยาสูบ” เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชื่อมโยงภาคีเครือข่าย รวมทั้งส่งเสริมการทำงานของประชาคม เพื่อผลักดันให้เกิดนโยบายสาธารณะ ที่จะส่งผลต่อการควบคุมการบริโภคยาสูบได้ในอนาคต


พิมพ์