เจาะลึกปฏิญญาฯ ให้คงกฎหมายห้ามนำเข้าและห้ามขายบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศ

เจาะลึกปฏิญญาฯ ให้คงกฎหมายห้ามนำเข้าและห้ามขายบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศ

ปฏิญญา “คนเหนือไม่เอาบุหรี่ไฟฟ้า…คนพิษณุโลกไม่เอาบุหรี่ไฟฟ้า” เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2565 ภาคส่วนต่าง ๆ อาทิ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก, ผู้บริหารศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ, ศึกษาธิการจังหวัดพิษณุโลก, ตำรวจภูธรจังหวัดพิษณุโลก, สรรพสามิตพื้นทิ่พิษณุโลก, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์

, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1 – 3, เครือข่ายครูเพื่อโรงเรียนปลอดบุหรี่ จังหวัดพิษณุโลก, เครือข่ายสื่อมวลชนภาคเหนือ, ตัวแทนคณาจารย์ นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยนเรศวรและวิทยาลัยสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก, เครือข่ายนักวิจัยด้านการควบคุมยาสูบในเขตภาคเหนือ และผู้เข้าร่วมงาน ได้ร่วมกันกล่าวปฏิญญา “คนเหนือไม่เอาบุหรี่ไฟฟ้า….คนพิษณุโลกไม่เอาบุหรี่ไฟฟ้า ในการประชุมวิชาการบุหรี่กับสุขภาพภาคเหนือ ครั้งที่ 5 ปี 2565 : “คนเหนือไม่เอาบุหรี่ไฟฟ้า….คนพิษณุโลกไม่เอาบุหรี่ไฟฟ้า” ณ ห้องประชุมวังธารา โรงแรมดิอิมพิเรียลโฮเทล แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ พิษณุโลก ซึ่งได้รับเกียรติจากนายพชรเสฏฐ์ บุญศิริสาริศา รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก ร่วมนำกล่าวปฏิญญาดังกล่าว มีใจความว่า
ปฏิญญา “คนเหนือไม่เอาบุหรี่ไฟฟ้า…คนพิษณุโลกไม่เอาบุหรี่ไฟฟ้า”
พวกเราในฐานะภาคส่วนราชการวิชาการและประชาสังคมในเขตภาคเหนือซึ่งเป็นผู้เข้าร่วมการประชุมวิชาการบุหรี่กับสุขภาพภาคเหนือครั้งที่ 5 “ คนเหนือไม่เอาบุหรี่ไฟฟ้า … คนพิษณุโลกไม่เอาบุหรี่ไฟฟ้า″ ในวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2565 พวกเราขอประกาศปฏิญญาร่วมกัน เพื่อแสดงเจตนารมณ์อันแน่วแน่ ในการสนับสนุนให้ “คงกฎหมายห้ามนำเข้าและห้ามขายบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศ” ดังนี้
ด้วยเราตระหนักว่า
• บุหรี่ไฟฟ้าไม่ใช่ทางเลือกที่ปลอดภัยและเป็นอันตรายต่อร่างกาย การใช้บุหรี่ไฟฟ้ามีสารพิษต่าง ๆ เทียบเท่ากับการสูบบุหรี่ปกติ ส่งผล กระทบต่อสุขภาพ และกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการเสพติดนิโคตินอย่างต่อเนื่องส่งผลกระทบในแง่ลบต่อสมอง และระบบประสาท ทำให้มีโอกาสติดง่ายและติดนาน บุหรี่ไฟฟ้าไม่ได้ทดแทนการเลิกสูบบุหรี่ แต่เป็นจุดเริ่มต้นในการแสพติดบุหรี่หรือสารเสพติดประเภทอื่นในเด็กและเยาวชน
• การไม่รู้เท่าทันกลยุทธ์ของ บริษัท ผู้ผลิตบุหรี่ไฟฟ้า ด้วยรูปลักษณ์และองค์ประกอบของบุหรี่ไฟฟ้า ทำให้สร้างความยั่วยวนใจให้หันมาสูบบุหรี่ไฟฟ้า และเกิดกระแสอย่างกว้างขวางในกลุ่มวัยรุ่นอย่างรวดเร็ว
• จุดยืนของประเทศไทย คือ ไม่สนับสนุนบุหรี่ไฟฟ้า ในปัจจุบันมาตรการและประสบการณ์ของประเทศต่าง ๆ ไม่มีมาตรการอื่นใดที่มีประสิทธิภาพในการปกป้องเด็กและเยาวชนไม่ให้เข้าถึงบุหรี่ไฟฟ้า และทดลองเสพบุหรี่ไฟฟ้าได้ดังนั้นจึงควรป้องกันที่ต้นทาง คือ การห้ามนำเข้าและขายบุหรี่ไฟฟ้า ตลอดจนดำเนินการตามอนุสัญญาพิธีหารว่าด้วยการจัดการการค้าผลิตภัณฑ์ยาสูบที่ผิดกฎหมาย และบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด
สุดท้ายนี้พวกเราตระหนักว่าการแก้ไขปัญหาการบริโภคยาสูบไม่สามารถสำเร็จได้โดยบุคคลใด บุคคลหนึ่งหรือองค์กรใดองค์กรหนึ่ง ดังนั้น พวกเราจึงขอประกาศปฏิญญา” คนเหนือไม่เอาบุหรี่ไฟฟ้า…..คนพิษณุโลกไม่เอาบุหรี่ไฟฟ้า” ร่วมกัน ในพิธีเปิด“ การประชุมวิชาการบุหรี่กับสุขภาพภาคเหนือครั้งที่ 5” นี้ว่า

  1. พวกเราจะร่วมมือกันสนับสนุนให้ “ คงกฎหมายห้ามนำเข้าและห้ามขายบุหรี่ไฟฟ้า” โดยขอเชิญชวนเครือข่ายครอบครัว เครือข่ายผู้ปกครองนักเรียน เครือข่ายสตรี และเยาวชน ร่วมไม่สนับสนุนพรรคการเมือง และนักการเมือง ที่มีจุดยืนสนับสนุนให้ยกเลิกการห้ามขายบุหรี่ไฟฟ้า
  2. พวกเราจะร่วมมือกันส่งเสริมให้ “การไม่สูบบุหรี่บุหรี่ไฟฟ้าเป็นค่านิยมดูแลสุขภาพตนเองและผู้อื่น” โดยจะเร่งรณรงค์ให้ประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะวัยรุ่นและเยาวชน รู้ถึงพิษภัยและการเสพติดบุหรี่ไฟฟ้า ทั้งผ่านช่องทางการของระบบการศึกษาและช่องทางอย่างไม่เป็นทางการ
  3. พวกเราจะร่วมกันสร้างความเข้มแข็ง” การดำเนินการควบคุมการบริโภคยาสูบ” ในทุกระดับ โดยจะเฝ้าระวังและกระตุ้นหน่วยงานต่าง ๆ ที่รับผิดชอบ ในการปราบปรามการโฆษณา และการลักลอบขายบุรีไฟฟ้าอย่างผิดกฎหมายและเฝ้าระวัง เปิดโปงกลยุทธ์การตลาดของบริษัท ผู้ค้าบุหรี่ไฟฟ้า ที่เจาะตลาดวัยรุ่นทั้งชายและหญิง รวมทั้งกลยุทธ์การแทรกแซงนโยบายของเครือข่ายบุหรี่ไฟฟ้าผ่านองค์กร บุคคล สื่อ ให้สังคมรับรู้ ทั้งนี้ เพื่อสุขภาวะของประชาชนไทยทุกเพศทุกวัยอย่างทั่วถึงและเสมอหน้ากัน



ที่มา - https://nuradio.nu.ac.th/?p=6424


พิมพ์