งานวิจัยยืนยัน เด็กตายก่อนวัยอันควร เพราะพ่อแม่สูบบุหรี่

งานวิจัยยืนยัน เด็กตายก่อนวัยอันควร เพราะพ่อแม่สูบบุหรี่

งานวิจัยยืนยัน เด็กตายก่อนวัยอันควร เพราะพ่อแม่สูบบุหรี่ Press Release: ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) ข่าวเผยแพร่: วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ.2561 (วันที่ข่าวตีพิมพ์สามารถเผยแพร่ได้ทันที) | ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) เผยงานวิจัยล่าสุด โดย ดร. Stanton Glantz มหาวิทยาลัย UCSF ประเทศสหรัฐอเมริกาตีพิมพ์ในวารสาร the International Journal of Epidemiology ฉบับเดือนตุลาคม พ.ศ.2561 ได้นำข้อมูลสำรวจระดับประเทศจำนวน 8 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ ระหว่างปีพ.ศ.2548-2559 จำนวน 69,142 ครัวเรือน

มาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการสูบบุหรี่ในพ่อ แม่ กับการเสียชีวิตของลูกก่อนอายุ 5 ขวบ

งานวิจัยพบข้อสรุปที่น่าสนใจ คือ การใช้ผลิตภัณฑ์ยาสูบในทุกรูปแบบของพ่อและแม่ สัมพันธ์กับการเสียชีวิตของลูกก่อนอายุ 5 ขวบ กล่าวคือกรณีถ้าแม่สูบบุหรี่ หรือใช้ผลิตภัณฑ์ยาสูบไร้ควัน โอกาสที่ลูกเสียชีวิตก่อนอายุ 5 ขวบจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 100% เทียบกับครอบครัวที่แม่ไม่ได้สูบบุหรี่ ส่วนกรณีที่พ่อสูบบุหรี่หรือใช้ผลิตภัณฑ์ยาสูบไร้ควันเพิ่มเพิ่มความเสี่ยงลูกตายก่อนอายุ 5 ขวบ 30-60% เทียบกับครอบครัวที่พ่อไม่ได้สูบบุหรี่ โดยความสัมพันธ์ดังกล่าวยังคงมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อมีการปรับค่าตัวแปรอื่นๆ เช่น ฐานะทางสังคมและเศรษฐกิจ

ซึ่งผลการวิจัยนี้สอดคล้องกับงานวิจัยใหม่ๆที่บอกว่าการได้สัมผัสควันบุหรี่ตั้งแต่เป็นทารกในครรภ์ จะส่งผลให้สารพันธุกรรมในร่างกายของเด็กมีการเปลี่ยนแปลง (DNA methylation) ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคต่างๆ เช่น โรคทางระบบภูมิคุ้มกัน ระบบประสาท หรือโรคมะเร็ง โดยการเปลี่ยนแปลงนี้จะคงอยู่แม้ว่าเด็กจะโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว

ศ.นพ.รณชัย คงสกนธ์ ผอ.ศจย. กล่าวว่า สำหรับประเทศไทยพบว่ามีเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ร้อยละ 87.5 ที่ต้องอาศัยในบ้านที่มีสมาชิกในครอบครัวอย่างน้อย 1 คนที่สูบบุหรี่ และคนกลุ่มนี้ร้อยละ 70 ระบุว่าตนเองมักสูบบุหรี่ในบ้านหรือในขณะมีเด็กอยู่ด้วย ซึ่งมีงานวิจัยยืนยันว่ามีการตรวจพบสารโคตินินในปัสสาวะของเด็กที่มีผู้ปกครองสูบบุหรี่อย่างน้อย 1 คนถึงร้อยละ 40.7 และในจำนวนนี้ร้อยละ 3.4 มีปริมาณโคตินินเทียบได้กับที่ตรวจพบในผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำ ดังนั้นมาตรการบ้านปลอดบุหรี่จึงมีความสำคัญ ทุกฝ่ายควรร่วมมือและดำเนินการอย่างจริงจัง เพื่อลดผลกระทบจากควันบุหรี่มือสอง มือสาม บ้านควรเป็นสถานที่ปลอดบุหรี่ 100%

อ้างอิง:

  1. Dharma N Bhatta and Stanton Glantz. Parental tobacco use and child death: analysis of data from demographic and health surveys from South and South East Asian countries. International Journal of Epidemiology 2018: 1-8.
  2. Rebecca C Richmond et al. DNA methylation as a marker for prenatal smoke exposure in adults. International Journal of Epidemiology 2018: 47 (4), 1120-1130.
  3. การทบทวนวรรณกรรมบ้านปลอดบุหรี่. ก้าวทันวิจัยกับ ศจย. ปีที่ 9 ฉบับที่ 3 พ.ศ.2560.

รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ:
หริสร์ ทวีพัฒนา นักวิชาการ ศจย. โทรศัพท์ 061-7244411 E-mail: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.


พิมพ์