หนุนผู้ใช้แรงงานเลิกสูบเลิกจน ดูแลสุขภาพ ป้องกันโควิด-19

หนุนผู้ใช้แรงงานเลิกสูบเลิกจน ดูแลสุขภาพ ป้องกันโควิด-19

ศ.นพ.รณชัย คงสกนธ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและจัดการวามรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) เปิดเผยผลการสำรวจล่าสุด โดย ศจย.ร่วมกับสวนดุสิตโพล ได้ทำ ‘การสำรวจพฤติกรรมการบริโภคยาสูบของกลุ่มผู้ใช้แรงงานในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19’ ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล เมษายน พ.ศ.2564 ซึ่งกลุ่มเป้าหมายในการสำรวจครั้งนี้ คือ ผู้ใช้แรงงานนอกระบบ (เช่น รถมอเตอร์ไซด์รับจ้าง แท็กซี่ งานบ้าน เกษตร และประมง) และผู้ใช้แรงงานในระบบ

(เช่น โรงงานอุตสาหกรรม โรงแรม ห้างร้าน เป็นต้น) จำนวน 1,120 ตัวอย่าง ทั้งนี้ผลการสำรวจ พบว่า พฤติกรรมการบริโภคยาสูบในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 รอบใหม่ พบว่า ผู้ใช้แรงงานที่บริโภคยาสูบในปริมาณลดลง เนื่องจากรายได้ลดลงมากที่สุด ร้อยละ 49.12 รองลงมาคือ ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ร้อยละ 29.57 และต้องการดูแลสุขภาพ ร้อยละ 16.29 ตามลำดับ โดยความถี่ในการบริโภคยาสูบ กลุ่มผู้ใช้แรงงานบริโภคยาสูบ 6-10 มวนต่อวัน มากที่สุด รองลงมาคือ 11-15 มวนต่อวัน และ 1-5 มวนต่อวัน และสถานที่ในการซื้อยาสูบ พบว่า กลุ่มผู้ใช้แรงงานที่บริโภคยาสูบ ส่วนใหญ่ซื้อยาสูบที่ร้านค้าทั่วไป มากที่สุด ร้อยละ 50.20 รองลงมาคือ ร้านสะดวกซื้อ ร้อยละ 44.86 และออนไลน์ ร้อยละ 4.66 “วิธีการเ ลิกบริโภคยาสูบที่กลุ่มผู้ใช้แรงงานได้วางแผนไว้ พบว่า ส่วนใหญ่จะใช้วิธีลดจำนวนมวนบุหรี่ลง มากที่สุด ร้อยละ 57.63 รองลงมาคือ หยุดสูบทันที (หักดิบ) ร้อยละ 34.41 และรับคำแนะนำเพื่อเลิกบุหรี่ ร้อยละ 3.39 เมื่อพิจารณาตามประเภทผู้ใช้แรงงาน พบว่า ผู้ใช้แรงงานทั้งนอกระบบและในระบบที่วางแผนจะเลิกบริโภคยาสูบส่วนใหญ่จะใช้วิธีลดจำนวนมวนบุหรี่ลงมากที่สุด” ศ.นพ.รณชัย กล่าว ศ.นพ.รณชัย กล่าวถึง ข้อเสนอแนะหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ 1) ผู้ใช้แรงงานที่บริโภคยาสูบในปริมาณที่น้อยขึ้น มีสาเหตุมาจากรายได้ที่ลดลง ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น และการต้องการดูแลสุขภาพ ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรรณงค์ในเรื่องการ ‘เลิกสูบ เลิกจน’ เพื่อรณรงค์ให้คนลดปริมาณการสูบบุหรี่ หรือเลิกสูบบุหรี่ เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตประจำวัน มีเงินออม เงินสำรองในอนาคตหากถูกเลิกจ้าง และยังส่งผลดีต่อสุขภาพของผู้ใช้แรงงาน 2) ผู้ใช้แรงงานที่บริโภคยาสูบในปริมาณที่มากขึ้น มีสาเหตุมาจากความเครียดทั้งในเรื่องของความเครียดจากการทำงาน ความเครียดกับสถานการณ์โควิด-19 และความเครียดจากการถูกเลิกจ้าง/ลดเงินเดือน ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือหน่วยงานด้านสาธารณสุขควรจัดกิจกรรมให้ความรู้ หรือจัดทำสื่อแนะนำการดูแลสุขภาพจิตของคนไทย การดำรงชีวิตอย่างมีความสุขภายใต้สถานการณ์ความตึงเครียดทั้งในด้านเศรษฐกิจ และการแพร่ระบาดของโควิด-19

รายละเอียดติดต่อ: หริสร์ ทวีพัฒนา นักวิชาการ ศจย. โทร: 061-7244411 Email: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. Press Release:
ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) ข่าวเผยแพร่: วันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ.2564 (วันที่ข่าวตีพิมพ์สามารถเผยแพร่ได้ทันที)


พิมพ์