เปิดเวทีวิชาการรวบรวมข้อมูลปัญหา “บุหรี่ไฟฟ้า” ให้กรรมาธิการวิสามัญฯ พิจารณาอย่างรอบด้าน ปกป้องเด็กและเยาวชน ชี้บุหรี่ไฟฟ้ามีสารเคมีกว่า 7 พันชนิด ทำสมรรถภาพปอดถดถอย เผยหากปล่อยตลาดล่าเหยื่อมุ่งเป้าเด็ก จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพ กระทบสมองสัมพันธ์ซึมเศร้า ยิ่งซ้ำเติมปัญหาเด็กเกิดน้อย แนะคงกฎหมายห้ามนำเข้าและการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า เมื่อวันที่ 10 ก.ค. 2567 ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) ได้จัด งานเสวนาสื่อ เรื่อง “เจาะลึก ข้อดีข้อเสีย 3 แนวทาง ของอนุกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษากฎหมายและมาตรการควบคุมกำกับบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทย” เพื่อให้ข้อมูลอย่างรอบด้าน ถึงข้อดีข้อเสียในการที่จะกำหนดมาตรการต่างๆ
ทว่า ประเทศไทยกลับกำลังจะถอยหลังเข้าคลอง เมื่อมีความพยายามที่จะ “ปลดล็อก” การแบนบุหรี่ไฟฟ้า เพื่อให้สามารถนำเข้า หรือจำหน่ายได้ แบบไม่ผิดกฎหมาย ที่ผ่านมาได้มีการตั้งอนุกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษากฎหมายและมาตรการควบคุมกำกับบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทย โดยมีการสรุปออกมา 3 แนวทาง คือ แบนบุหรี่ไฟฟ้าเหมือนปัจจุบัน
นักวิชาการกังขา สภาฯ ดูงานบุหรี่ไฟฟ้าจีน ประชุมร่วมกับหน่วยงานที่มีความสัมพันธ์กับบริษัทบุหรี่เรียกร้องสังคมจับตา กมธ.เอาข้อมูลบริษัทบุหรี่มาอ้างยกเลิกแบนบุหรี่ไฟฟ้า
เมื่อ 7ก.ค.2567 ผศ.ดร.นพ.วิชช์ เกษมทรัพย์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ให้ข้อมูลว่า
เยาวชนไทยสูบพอต-บุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น เกินครึ่งเข้าใจผิดว่าอันตรายน้อยกว่าบุหรี่มวน สูบบุหรี่ไฟฟ้า ทำให้สามารถเลิกบุหรี่มวนได้ และเข้าใจไปว่านิโคตินส่งผลดีต่อร่างกาย วันนี้ (25 มิ.ย.67) นพ.สุระ วิเศษศักดิ์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) เปิดเผยถึงสถานการณ์การสูบบุหรี่ไฟฟ้าในสังคมไทย และสังคมโลก ว่สมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น
เมื่อวันที่ 17 มิ.ย. ที่โรงแรมเดอะสุโกศล กรุงเทพฯ ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) จัดแถลงข่าว "ปัญหาสุขภาพจิตในวัยรุ่นที่สูบบุหรี่ไฟฟ้า" เนื่องจากบุหรี่ไฟฟ้านอกจากอันตรายต่อปอด หัวใจ สมอง แล้วยังส่งผลต่อสุขภาพจิต เพิ่มความเสี่ยงต่อมีอาการซึมเศร้า ความวิตกกังวล ส่งผลกระทบกับการเรียนรู้และคุณภาพชีวิตของเด็กและเยาวชน