ข่าวสารบุหรี่

นวัตกรรมชุมชนเป็นศูนย์กลางกับการควบคุมยาสูบ

นวัตกรรมชุมชนเป็นศูนย์กลางกับการควบคุมยาสูบ

เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2564 ศ.นพ.รณชัย คงสกนธ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) ได้กล่าวเปิดเสวนาวิชาการในหัวข้อ “นวัตกรรมชุมชนเป็นศูนย์กลางกับการควบคุมยาสูบ” เนื่องในวันงดสูบบุหรี่โลก ปี 2564 ที่ชูคำขวัญว่า “เลิกสูบ ลดเสี่ยง คุณทำได้” ทางศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) ได้ร่วมมือกับ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สภาการสาธารณสุขชุมชน และศูนย์สื่อสร้างสรรค์เพื่อเด็กเยาวชนและครอบครัว DigitorThailand

เลิกบุหรี่เถอะพี่น้องแรงงาน

เลิกบุหรี่เถอะพี่น้องแรงงาน

ศ.นพ.รณชัย คงสกนธ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและจัดการวามรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) เผยผลการสำรวจพฤติกรรมการบริโภคยาสูบของกลุ่มผู้ใช้แรงงานในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ช่วงเดือนเมษายน 2564 โดย ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) ร่วมกับสวนดุสิตโพล

งานวิจัยสหรัฐฯเผยสูบบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มโอกาสติด COVID-19 กว่า 5 เท่า

งานวิจัยสหรัฐฯเผยสูบบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มโอกาสติด COVID-19 กว่า 5 เท่า

เลขาธิการแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ ยัน บุหรี่ไฟฟ้าเชื่อมโยง COVID - 19 เผยงานวิจัยสหรัฐฯ พบวัยรุ่นสูบบุหรี่ไฟฟ้าติด COVID- 19 มากกว่าผู้ไม่สูบ 5 เท่า สูบทั้งบุหรี่มวน บุหรี่ไฟฟ้าติดเพิ่มเป็น 7 เท่า และป่วยหนักกว่าผู้ไม่สูบถึง 5 เท่า วันนี้ ( 21 เม.ย.2564) นพ.ประกิตพันธุ์ ทมทิตชงค์ อาจารย์ประจำภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต) ในฐานะ เลขาธิการแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า

ผอ.ศจย. เป็นประธานเปิดการอภิปรายผล โครงการวิจัยการพัฒนายุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ชาวไร่ยาสูบ

ผอ.ศจย. เป็นประธานเปิดการอภิปรายผล โครงการวิจัยการพัฒนายุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ชาวไร่ยาสูบ

ผอ.ศจย. เป็นประธานเปิดการอภิปรายผล โครงการวิจัยการพัฒนายุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ชาวไร่ยาสูบ เพื่อเตรียมความพร้อมต่อการลดการบริโภคยาสูบของประชาชน วันที่ 5 เมษายน 2564 เวลา 09:00-12:00 น. ศ.นพ.รณชัย คงสกนธ์ ผอ.ศจย.ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการอภิปรายผลโครงการวิจัยการพัฒนายุทธศาสตร์

ม.มหิดล ประกาศงดรับทุนทุกรูปแบบจากบริษัทบุหรี่และเครือข่าย

ม.มหิดล ประกาศงดรับทุนทุกรูปแบบจากบริษัทบุหรี่และเครือข่าย

มหาวิทยาลัยมหิดล ประกาศงดรับทุนทุกรูปแบบจากบริษัทบุหรี่และเครือข่าย ตัดปัญหาการแทรกแซงทางความคิด และการชี้นำสังคม พร้อมเชิญชวนทุกมหาวิทยาลัย ร่วมแสดงเจตนารมณ์ที่จะไม่ร่วมมือ กับบริษัทบุหรี่

นักวิชาการจี้รัฐบาลเร่งสังคายนาโครงสร้างภาษีบุหรี่ใหม่

นักวิชาการจี้รัฐบาลเร่งสังคายนาโครงสร้างภาษีบุหรี่ใหม่

นักวิชาการชี้ ถึงเวลาสังคยานาโครงสร้างภาษีบุหรี่ใหม่ ต้องให้ภาคสุขภาพมีส่วนร่วม แนะเร่งออกกฎคุมราคาขายปลีกขั้นต่ำ ไม่เปิดช่องให้บุหรี่ลดราคา เหตุทำรัฐเสียหายนับหมื่นล้านบาท เมื่อวันที่ 7 มีนาคม นพ.หทัย ชิตานนท์ ประธานสถาบันส่งเสริมสุขภาพไทย กล่าวว่า การขึ้นภาษียาสูบดำเนินการโดยกรมสรรพสามิต

ปรับโครงสร้างภาษีบุหรี่...ใครได้ ใครเสีย? “ปรับครั้งใหม่ ต้องไม่พลาดซ้ำสอง”

ปรับโครงสร้างภาษีบุหรี่...ใครได้ ใครเสีย? “ปรับครั้งใหม่ ต้องไม่พลาดซ้ำสอง”

วันนี้ ที่โรงแรมเดอะสุโกศล ศ.พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ ประธานสมาพันธ์เครือข่ายแห่งชาติเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่และประธานเครือข่ายวิชาชีพสุขภาพเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ กล่าวในงานแถลงข่าวปรับโครงสร้างภาษีบุหรี่ใครได้ ใครเสีย” ว่า การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุอันดับ 1 ที่ทำให้คนไทยเจ็บป่วยและเสียชีวิตปีละกว่า 7 หมื่นคน การที่จะทำให้คนสูบบุหรี่ลดลง ต้องใช้หลายมาตรการ ทั้งการจำกัดที่สูบ การห้ามโฆษณา การรักษาคนที่ติดบุหรี่ให้เลิก และมาตรการภาษีซึ่งเป็นมาตรการที่ดีที่สุด

"หมอหทัย" วอน รมว.คลัง ควรทบทวนบทบาท ผู้ว่า ยสท. หลังให้บริษัทบุหรี่ยักษ์ใหญ่เข้าพบ ส่อให้คิดว่ามีความเหมาะสมหรือไม่

"หมอหทัย" วอน รมว.คลัง ควรทบทวนบทบาท ผู้ว่า ยสท. หลังให้บริษัทบุหรี่ยักษ์ใหญ่เข้าพบ ส่อให้คิดว่ามีความเหมาะสมหรือไม่

เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ดร.นพ.หทัย ชิตานนท์ ประธานสถาบันส่งเสริมสุขภาพไทย มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ ประธานรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบขององค์การอนามัยโลก (2550-2551) เปิดเผยถึงประเด็นความน่าเป็นห่วงเกี่ยวกับบริษัทยาสูบข้ามชาติ หลังจากพบว่า ผู้อำนวยการฝ่ายร่วมมือทางธุรกิจ และทีมงานจากบริษัทฟิลลิป มอร์ริส เทรดดิ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด เข้าพบนายภาณุพล รัตนกาญจนภัทร ผู้ว่าการการยาสูบแห่งประเทศไทย (ยสท)

อันตราย ! "ควันบุหรี่สมุนไพร" มีสารพิษก่อมะเร็ง

อันตราย ! "ควันบุหรี่สมุนไพร" มีสารพิษก่อมะเร็ง

ดร.สุภา วิตตาภรณ์ อาจารย์ประจำคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และคณะทำงานวิชาการของศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) กล่าวว่า สมุนไพรถ้าใช้ให้ถูกวิธีถูกกับโรค จะเป็นประโยชน์ แต่ถ้าใช้ผิดวิธีก็ก่อให้เกิดโทษได้ “บุหรี่สมุนไพร” หรือการนำสมุนไพรมาสูบ เพื่อทดแทนการสูบบุหรี่แบบดั้งเดิม ไม่ได้ช่วยเลิกการสูบแต่อย่างใด

X

Main Menu