ปรับโครงสร้างภาษีบุหรี่...ใครได้ ใครเสีย? “ปรับครั้งใหม่ ต้องไม่พลาดซ้ำสอง”

ปรับโครงสร้างภาษีบุหรี่...ใครได้ ใครเสีย? “ปรับครั้งใหม่ ต้องไม่พลาดซ้ำสอง”

วันนี้ ที่โรงแรมเดอะสุโกศล ศ.พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ ประธานสมาพันธ์เครือข่ายแห่งชาติเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่และประธานเครือข่ายวิชาชีพสุขภาพเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ กล่าวในงานแถลงข่าวปรับโครงสร้างภาษีบุหรี่ใครได้ ใครเสีย” ว่า การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุอันดับ 1 ที่ทำให้คนไทยเจ็บป่วยและเสียชีวิตปีละกว่า 7 หมื่นคน การที่จะทำให้คนสูบบุหรี่ลดลง ต้องใช้หลายมาตรการ ทั้งการจำกัดที่สูบ การห้ามโฆษณา การรักษาคนที่ติดบุหรี่ให้เลิก และมาตรการภาษีซึ่งเป็นมาตรการที่ดีที่สุด

ทำให้รัฐบาลเก็บภาษีได้เพิ่มขึ้น และการสูบบุหรี่ลดลง ดังที่ธนาคารโลกเรียกว่า เป็นมาตรการที่ Win Win โดยขณะนี้กระทรวงการคลัง กำลังอยู่ในระหว่างการปรับเปลี่ยนโครงสร้างภาษียาสูบ พ.ศ. 2560 ทางสมาพันธ์เครือข่ายแห่งชาติเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ เครือข่ายรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ และนักวิชาการด้านภาษียาสูบ ได้ติดตาม และศึกษาแนวทางการแก้ปัญหา เพื่อเสนอต่อกระทรวงการคลังและรัฐบาล ให้การกำหนดโครงสร้างและอัตราภาษีใหม่ที่จะมีขึ้นในเดือนมีนาคมนี้ ลดการบริโภคยาสูบได้จริง และทำให้รัฐบาลมีรายได้จากภาษีเพิ่มขึ้น

ผศ.ดร.ลักขณา เติมศิริกุลชัย ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาศักยภาพกำลังคนด้านการควบคุมยาสูบ กล่าวว่า โครงสร้างภาษีบุหรี่ พ.ศ. 2560 เป็นรูปแบบผสม โดยเก็บภาษีทั้งตามปริมาณและตามมูลค่า ภาษีตามปริมาณ มวนละ 1.20 บาท แต่ที่เป็นปัญหาคือการเก็บภาษีตามมูลค่าที่แบ่งเป็น 2 ระดับคือบุหรี่ขายปลีกซองละ 60 บาทขึ้นไป ต้องเสียภาษี 40% แต่ถ้าต่ำกว่า 60 บาท ให้เสีย 20% ทำให้บุหรี่หลายยี่ห้อลดราคาลงเพื่อเสียภาษีในอัตราที่ถูกกว่า ซึ่งต้องถือว่าเป็นมาตรการที่ล้มเหลว ผิดหลักการของภาษีบุหรี่ เพราะไม่ทำให้ราคาบุหรี่เพิ่มขึ้น แต่กลับลดราคาลง ทำให้คนสูบไม่ลด รัฐบาลเก็บภาษีได้ลดลง ชาวไร่ยาสูบเดือดร้อน ซ้ำร้ายบริษัทบุหรี่ข้ามชาติฉวยโอกาสเข้ามาแย่งส่วนแบ่งการตลาดโดยการลดราคาบุหรี่ล่อใจผู้บริโภค .......

Credit : https://mgronline.com/qol/detail/9640000020424


พิมพ์