แฉพบ 70 ร้านขายบุหรี่ไฟฟ้าใน กทม. เปิดใกล้สถานศึกษาท้าทายกฎหมาย‬

แฉพบ 70 ร้านขายบุหรี่ไฟฟ้าใน กทม. เปิดใกล้สถานศึกษาท้าทายกฎหมาย‬

แฉขายบุหรี่ไฟฟ้าเปิดท้าทายกฎหมาย “ยุวทัศน์ฯ-สสส.”ชี้เป้ากรุงเทพฯพบร้านขายบุหรี่ไฟฟ้าใกล้สถานศึกษากว่า 70 ร้าน เลือกทำเลร้านรัศมี 500 เมตร เน้นขายให้เด็กนักเรียน นักศึกษา ชง 4 มาตรการเข้มงวดปราบปรามบุหรี่ไฟฟ้าต่อรัฐบาล สสส. เร่งสร้างความรอบรู้ทางสุขภาพ เตือนตระหนักภัยไอน้ำมันบุหรี่ไฟฟ้าอันตรายไม่แพ้ควันบุหรี่มวน

รณรงค์รักษาสิทธิ์ได้รับอากาศสะอาดปลอดควันบุหรี่ทุกชนิด
​วันที่ 18 มี.ค. 2567 ที่ โรงแรมอัศวินแกรนด์ กรุงเทพฯ สถาบันยุวทัศน์แห่งประเทศไทย (ยท.) ร่วมกับเครือข่ายยุวอาสาสมัครสาธารณสุข (ยุว อสม.) สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแพทย์แห่งประเทศไทยในพระอุปถัมภ์ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดแถลงข่าวเปิดผลการเฝ้าระวังการจัดจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าในพื้นที่กรุงเทพฯ และช่องทางจัดจำหน่ายผ่านระบบออนไลน์ พร้อมส่งมอบข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการปราบปรามการจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้ารอบสถานศึกษาให้เด็กและเยาวชนต่อรัฐบาล โดยมีนายวราวุธ ยันต์เจริญ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (ดร.พวงเพ็ชร ชุนละเอียด) นางสาววิลาวัลย์ ธรรมชาติ ที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วยผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) รับข้อมูลและข้อเสนอเชิงนโยบาย

​นายพชรพรรษ์ ประจวบลาภ เลขาธิการสถาบันยุวทัศน์แห่งประเทศไทย (ยท.) กล่าวว่าตามที่นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และดร.พวงเพ็ชร ชุนละเอียด รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีมีข้อห่วงใยต่อสถานการณ์การสูบบุหรี่ไฟฟ้าของเด็กและเยาวชน รวมถึงสั่งการเร่งรัดปราบปรามผู้กระทำความผิดที่ลักลอบจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้ารอบสถานศึกษาในพื้นที่ทั่วประเทศ ซึ่งสร้างความปลอดภัยให้เด็ก เยาวชน และประชาชน ทางยท. ได้ร่วมกับเครือข่ายแกนนำยุวอาสาสมัครสาธารณสุข (ยุว อสม.) และเครือข่ายสถานศึกษา เฝ้าระวังการจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าในพื้นที่กรุงเทพฯ ทั้ง 50 เขต พบร้านค้าจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้า (ประเภทมีหน้าร้านถาวร) สูงถึง 70 ร้านค้า จากการเก็บข้อมูลเชิงลึกและวิเคราะห์พื้นที่โดยรอบสถานที่จัดจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้า พบว่าผู้กระทำความผิดมักจะเลือกสถานที่ในการตั้งร้านค้าภายในรัศมี 500 เมตร ใกล้เคียงสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา อาชีวศึกษา และอุดมศึกษาเป็นหลัก

“เฉพาะในเขตดินแดง มีสถาบันอุดมศึกษา 2 แห่ง และโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา 2 แห่ง พบร้านค้าจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้ามากถึง 7 ร้านค้า สะท้อนให้เห็นว่าการทำการตลาดเพื่อจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้า มุ่งเป้าไปที่เด็กและเยาวชนอย่างชัดเจน นอกจากนี้ ยท. ยังได้เฝ้าระวังการลักลอบจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าทางออนไลน์ พบเว็บไซต์ที่มีการจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ประกอบการสูบมากกว่า 100 เว็บไซต์”

นายพชรพรรษ์ กล่าวต่อว่า ยท. จึงมีข้อเสนอมายังสำนักนายกรัฐมนตรี 4 ข้อ 1.ขอให้ สคบ. เร่งรัดดำเนินการบังคับใช้กฎหมายต่อผู้ลักลอบจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง โดยเร่งดำเนินการเป็นกรณีพิเศษกับร้านค้าที่ใกล้เคียงสถานศึกษาและชุมชน 2.ขอให้ สคบ. ประสานความร่วมมือกับเครือข่ายสถานศึกษาในทุกสังกัด และมีกลไกเฝ้าระวังร้านค้าจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าและรายงานผลการเฝ้าระวังกลับมายัง สคบ. เพื่อดำเนินการบังคับใช้กฎหมายต่อไป 3.ขอให้ดำเนินการคงมาตรการการตามคำสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ 9/2558 เรื่อง ห้ามขายหรือห้ามให้บริการสินค้า บารากู่ บารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า หรือตัวยาบารากู่ น้ำยาสำหรับเติมบารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า 4.ขอให้ สคบ.เฝ้าระวัง ติดตาม และบังคับใช้กฎหมายกับผู้โฆษณา หรือจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าในระบบออนไลน์ เพื่อป้องกันการเข้าถึงบุหรี่ไฟฟ้าของเด็กและเยาวชน

​ด้าน นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สสส. มีเป้าหมายลดอัตรานักสูบหน้าใหม่ในกลุ่มเด็กและเยาวชนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการเข้าถึงบุหรี่ไฟฟ้าของเด็กและเยาวชน ผ่านการสนับสนุนกลไกเครือข่ายทุกภาคส่วน ที่ผ่านมา ได้ขับเคลื่อนงานสถานศึกษาปลอดบุหรี่ พัฒนาหลักสูตร GenZ Academy มุ่งให้ความรู้กับนักเรียนเรื่องกฎหมายควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ จัดตั้งชมรม GenZ กว่า 200 ชมรม สนับสนุนกิจกรรมด้านควบคุมยาสูบทั้งในและนอกโรงเรียน รวมถึงจัดกิจกรรม Healthy Hero เดิน-วิ่งเพื่อสุขภาพ รู้เท่าทันบุหรี่ไฟฟ้าและป้องกันโรค NCDs ในมหาวิทยาลัยทุกภูมิภาค ที่สำคัญได้เร่งเสริมศักยภาพเยาวชนให้เป็นผู้สื่อสาร User-generated content (UGC) ในด้านปัจจัยเสี่ยง เช่น เครือข่ายสื่อสร้างสรรค์ Media Move การผลิตรายการโทรทัศน์เชิงสาระบันเทิงเพื่อลดปัจจัยเสี่ยง ผ่านช่องทาง Cable Channel 37HD

“ในปี 2567 มุ่งเน้น 1.การสร้างเสริมความรอบรู้ทางสุขภาพด้านการควบคุมยาสูบ จัดกิจกรรมพิเศษและสร้างกระแสทางสังคม 2.การขยายพื้นที่ปลอดบุหรี่ให้เป็นรูปธรรม รณรงค์บ้านปลอดบุหรี่หรือบุหรี่ไฟฟ้า การรักษาสิทธิของตนเองจากการได้รับอันตรายของควันบุหรี่มือสอง 3.พัฒนาสื่อโฆษณารณรงค์ประเด็น “ไอน้ำมันในบุหรี่ไฟฟ้าอันตราย” เพราะบุหรี่ไฟฟ้ามีอนุภาคขนาดเล็กเทียบเท่าหรือเล็กกว่า PM2.5 เข้าสู่ร่างกายได้ง่าย และลึก เสี่ยงต่อการทำงานของเฉพาะปอด 4. พัฒนานิทานพิษภัยของบุหรี่ไฟฟ้า เพื่อปลูกฝังในระดับจิตใต้สำนึกให้แก่เด็กปฐมวัยและเด็กประถมศึกษา ให้มีภูมิคุ้มกันและรู้เท่าทันบุหรี่ไฟฟ้าที่กำลังล่าเหยื่อในเด็กประถมที่อายุน้อยลงเรื่อยๆ ด้วยอุปกรณ์ส่งนิโคตินตรงเข้าปอดในรูปแบบที่เหมือนของเด็กเล่น แนวทางของ สสส. ต่อการสื่อสารและรณรงค์สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบของบุหรี่ไฟฟ้าเป็นอย่างไร” นพ.พงศ์เทพ กล่าว

แฉขายบุหรี่ไฟฟ้าเปิดท้าทายกฎหมาย “ยุวทัศน์ฯ-สสส.”ชี้เป้ากรุงเทพฯพบร้านขายบุหรี่ไฟฟ้าใกล้สถานศึกษากว่า 70 ร้าน เลือกทำเลร้านรัศมี 500 เมตร เน้นขายให้เด็กนักเรียน นักศึกษา ชง 4 มาตรการเข้มงวดปราบปรามบุหรี่ไฟฟ้าต่อรัฐบาล สสส. เร่งสร้างความรอบรู้ทางสุขภาพ เตือนตระหนักภัยไอน้ำมันบุหรี่ไฟฟ้าอันตรายไม่แพ้ควันบุหรี่มวน รณรงค์รักษาสิทธิ์ได้รับอากาศสะอาดปลอดควันบุหรี่ทุกชนิด
​วันที่ 18 มี.ค. 2567 ที่ โรงแรมอัศวินแกรนด์ กรุงเทพฯ สถาบันยุวทัศน์แห่งประเทศไทย (ยท.) ร่วมกับเครือข่ายยุวอาสาสมัครสาธารณสุข (ยุว อสม.) สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแพทย์แห่งประเทศไทยในพระอุปถัมภ์ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดแถลงข่าวเปิดผลการเฝ้าระวังการจัดจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าในพื้นที่กรุงเทพฯ และช่องทางจัดจำหน่ายผ่านระบบออนไลน์ พร้อมส่งมอบข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการปราบปรามการจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้ารอบสถานศึกษาให้เด็กและเยาวชนต่อรัฐบาล โดยมีนายวราวุธ ยันต์เจริญ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (ดร.พวงเพ็ชร ชุนละเอียด) นางสาววิลาวัลย์ ธรรมชาติ ที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วยผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) รับข้อมูลและข้อเสนอเชิงนโยบาย

​นายพชรพรรษ์ ประจวบลาภ เลขาธิการสถาบันยุวทัศน์แห่งประเทศไทย (ยท.) กล่าวว่าตามที่นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และดร.พวงเพ็ชร ชุนละเอียด รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีมีข้อห่วงใยต่อสถานการณ์การสูบบุหรี่ไฟฟ้าของเด็กและเยาวชน รวมถึงสั่งการเร่งรัดปราบปรามผู้กระทำความผิดที่ลักลอบจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้ารอบสถานศึกษาในพื้นที่ทั่วประเทศ ซึ่งสร้างความปลอดภัยให้เด็ก เยาวชน และประชาชน ทางยท. ได้ร่วมกับเครือข่ายแกนนำยุวอาสาสมัครสาธารณสุข (ยุว อสม.) และเครือข่ายสถานศึกษา เฝ้าระวังการจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าในพื้นที่กรุงเทพฯ ทั้ง 50 เขต พบร้านค้าจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้า (ประเภทมีหน้าร้านถาวร) สูงถึง 70 ร้านค้า จากการเก็บข้อมูลเชิงลึกและวิเคราะห์พื้นที่โดยรอบสถานที่จัดจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้า พบว่าผู้กระทำความผิดมักจะเลือกสถานที่ในการตั้งร้านค้าภายในรัศมี 500 เมตร ใกล้เคียงสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา อาชีวศึกษา และอุดมศึกษาเป็นหลัก

“เฉพาะในเขตดินแดง มีสถาบันอุดมศึกษา 2 แห่ง และโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา 2 แห่ง พบร้านค้าจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้ามากถึง 7 ร้านค้า สะท้อนให้เห็นว่าการทำการตลาดเพื่อจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้า มุ่งเป้าไปที่เด็กและเยาวชนอย่างชัดเจน นอกจากนี้ ยท. ยังได้เฝ้าระวังการลักลอบจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าทางออนไลน์ พบเว็บไซต์ที่มีการจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ประกอบการสูบมากกว่า 100 เว็บไซต์”

นายพชรพรรษ์ กล่าวต่อว่า ยท. จึงมีข้อเสนอมายังสำนักนายกรัฐมนตรี 4 ข้อ 1.ขอให้ สคบ. เร่งรัดดำเนินการบังคับใช้กฎหมายต่อผู้ลักลอบจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง โดยเร่งดำเนินการเป็นกรณีพิเศษกับร้านค้าที่ใกล้เคียงสถานศึกษาและชุมชน 2.ขอให้ สคบ. ประสานความร่วมมือกับเครือข่ายสถานศึกษาในทุกสังกัด และมีกลไกเฝ้าระวังร้านค้าจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าและรายงานผลการเฝ้าระวังกลับมายัง สคบ. เพื่อดำเนินการบังคับใช้กฎหมายต่อไป 3.ขอให้ดำเนินการคงมาตรการการตามคำสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ 9/2558 เรื่อง ห้ามขายหรือห้ามให้บริการสินค้า บารากู่ บารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า หรือตัวยาบารากู่ น้ำยาสำหรับเติมบารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า 4.ขอให้ สคบ.เฝ้าระวัง ติดตาม และบังคับใช้กฎหมายกับผู้โฆษณา หรือจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าในระบบออนไลน์ เพื่อป้องกันการเข้าถึงบุหรี่ไฟฟ้าของเด็กและเยาวชน

​ด้าน นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สสส. มีเป้าหมายลดอัตรานักสูบหน้าใหม่ในกลุ่มเด็กและเยาวชนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการเข้าถึงบุหรี่ไฟฟ้าของเด็กและเยาวชน ผ่านการสนับสนุนกลไกเครือข่ายทุกภาคส่วน ที่ผ่านมา ได้ขับเคลื่อนงานสถานศึกษาปลอดบุหรี่ พัฒนาหลักสูตร GenZ Academy มุ่งให้ความรู้กับนักเรียนเรื่องกฎหมายควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ จัดตั้งชมรม GenZ กว่า 200 ชมรม สนับสนุนกิจกรรมด้านควบคุมยาสูบทั้งในและนอกโรงเรียน รวมถึงจัดกิจกรรม Healthy Hero เดิน-วิ่งเพื่อสุขภาพ รู้เท่าทันบุหรี่ไฟฟ้าและป้องกันโรค NCDs ในมหาวิทยาลัยทุกภูมิภาค ที่สำคัญได้เร่งเสริมศักยภาพเยาวชนให้เป็นผู้สื่อสาร User-generated content (UGC) ในด้านปัจจัยเสี่ยง เช่น เครือข่ายสื่อสร้างสรรค์ Media Move การผลิตรายการโทรทัศน์เชิงสาระบันเทิงเพื่อลดปัจจัยเสี่ยง ผ่านช่องทาง Cable Channel 37HD

“ในปี 2567 มุ่งเน้น 1.การสร้างเสริมความรอบรู้ทางสุขภาพด้านการควบคุมยาสูบ จัดกิจกรรมพิเศษและสร้างกระแสทางสังคม 2.การขยายพื้นที่ปลอดบุหรี่ให้เป็นรูปธรรม รณรงค์บ้านปลอดบุหรี่หรือบุหรี่ไฟฟ้า การรักษาสิทธิของตนเองจากการได้รับอันตรายของควันบุหรี่มือสอง 3.พัฒนาสื่อโฆษณารณรงค์ประเด็น “ไอน้ำมันในบุหรี่ไฟฟ้าอันตราย” เพราะบุหรี่ไฟฟ้ามีอนุภาคขนาดเล็กเทียบเท่าหรือเล็กกว่า PM2.5 เข้าสู่ร่างกายได้ง่าย และลึก เสี่ยงต่อการทำงานของเฉพาะปอด 4. พัฒนานิทานพิษภัยของบุหรี่ไฟฟ้า เพื่อปลูกฝังในระดับจิตใต้สำนึกให้แก่เด็กปฐมวัยและเด็กประถมศึกษา ให้มีภูมิคุ้มกันและรู้เท่าทันบุหรี่ไฟฟ้าที่กำลังล่าเหยื่อในเด็กประถมที่อายุน้อยลงเรื่อยๆ ด้วยอุปกรณ์ส่งนิโคตินตรงเข้าปอดในรูปแบบที่เหมือนของเด็กเล่น แนวทางของ สสส. ต่อการสื่อสารและรณรงค์สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบของบุหรี่ไฟฟ้าเป็นอย่างไร” นพ.พงศ์เทพ กล่าว

Credit : ‪https://www.banmuang.co.th/mobile/news/bangkok/373456


พิมพ์