ทั่วโลกเดินหน้า ห้าม! 'บุหรี่ไฟฟ้า'มากขึ้น

ทั่วโลกเดินหน้า ห้าม! 'บุหรี่ไฟฟ้า'มากขึ้น

ข่าวสารบุหรี่ ฮิต: 277

เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2566 ที่กระทรวงสาธารณสุข นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ดร.เอเดรียน่า แบลนโค มาร์กิโซ (Dr. Adriana Blanco Marquizo) หัวหน้าสำนักเลขาธิการกรอบอนุสัญญา

ว่าด้วยการควบคุมยาสูบขององค์การอนามัยโลก(WHO) และศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบแห่งชาติ ร่วมแถลงข่าว การประเมินความจำเป็น (Needs Assessment) เกี่ยวกับการดำเนินงานควบคุมการบริโภคยาสูบของประเทศไทย
ไทย

นายอนุทิน กล่าวว่า ตามที่ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันตามกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบขององค์การอนามัยโลก (WHO FCTC) มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2548 ซึ่งเป็นพันธกรณีระหว่างประเทศที่รัฐภาคีต้องปฏิบัติตามกรอบอนุสัญญาฯ อย่างเคร่งครัด โดยที่ผ่านมา ประเทศไทยได้ออกนโยบาย ยุทธศาสตร์ มาตรการและแนวทางการดำเนินงาน เพื่อให้สอดคล้องและรองรับกับพันธกรณีอนุสัญญาดังกล่าว
รวมถึงตรากฎหมายหรือปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ ควบคุมและคุ้มครองสุขภาพประชาชนให้ปลอดจากโทษ พิษภัย และผลกระทบจากผลิตภัณฑ์ยาสูบทุกรูปแบบ พร้อมสนับสนุนและส่งเสริมความเข้มแข็งศักยภาพการดำเนินงานควบคุมยาสูบให้เกิดประสิทธิภาพ นำไปสู่การจัดการปัญหาโรคไม่ติดต่ออย่างยั่งยืน

การโฆษณาความเชื่อต่างๆ ว่า บุหรี่ไฟฟ้าอันตรายน้อยกว่าบุหรี่ทั่วไป มีประโยชน์มากกว่าบุหรี่ทั่วไป สามารถทำให้เลิกสูบบุหรี่นั้น ดร.เอเดรียน่ายืนยันในที่ประชุมว่า ข้อมูลเหล่านี้ไม่เป็นความจริงทั้งหมด ซึ่ง สธ.ยืนยันว่า การบริโภคยาสูบไม่ว่าชนิดใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นใบยาหรือบุหรี่ไฟฟ้า กรมควบคุมโรคและ สธ.ยืนยันว่าเป็นสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ไม่สามารถให้การสนับสนุนหรือเปลี่ยนแปลงในเรื่องของการใช้บุหรี่ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใดก็ตาม
ยืนยันในเจตนารมณ์นี้ เพราะจากข้อมูลต่างๆ ที่เรามี เมื่อเทียบกับโทษที่ประชาชนจะได้รับจากบุหรี่ไฟฟ้า จึงยังไม่สามารถที่จะแก้ไขหรือปรับปรุงได้ โดยแนวทางของ สธ.สอดคล้องกับ WHO ซึ่งรับผิดชอบดูแลสุขภาพประชากรโลก ที่ยังเชื่อมั่นว่าการสูบบุหรี่ไฟฟ้ายังเป็นอันตราย

"ที่พูดถึงเรื่องภาษีสรรพสามิต ก็ไม่ได้ทำให้เกิดภาษีใดๆ มากขึ้น รัฐบาลไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลชุดนี้ที่จะหมดวาระลงไป หรือรัฐบาลชุดใหม่ที่จะเข้ามา ทุกรัฐบาลคงต้องคำนึงถึงสุขภาพของพี่น้องประชาชนเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ส่วนการเก็บภาษีก็คงเป็นเรื่องลำดับรอง" นายอนุทินกล่าว


ด้าน ดร.เอเดรียน่า แบลนโค มาร์กิโซ กล่าวว่า สนับสนุนให้ประเทศไทยคงมาตรการห้ามนำเข้าและจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าทุกรูปแบบ เพื่อปกป้องเด็กและเยาวชนจากการติดนิโคติน ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญของธุรกิจยาสูบ ในการพยายามล่อลวงให้เด็กและเยาวชนเริ่มใช้บุหรี่ไฟฟ้า ด้วยวิธีการสร้างภาพลักษณ์ผลิตภัณฑ์ให้มีความเย้ายวน น่าสนใจและสร้างกลิ่น รสชาติที่มีความจูงใจ และกล่าวอ้างว่าผลิตภัณฑ์เหล่านี้เป็นตัวเลือกที่ปลอดภัยกว่าสำหรับผู้สูบบุหรี่


Credit : https://tinyurl.com/4zdve7ud

พิมพ์