การขับเคลื่อนงาน "วัดปลอดบุหรี่" และ "ลดปัจจัยเสี่ยง" ของเครือข่ายพระสงฆ์ 4 ภาค”

การขับเคลื่อนงาน "วัดปลอดบุหรี่" และ "ลดปัจจัยเสี่ยง" ของเครือข่ายพระสงฆ์ 4 ภาค”

ข่าวสารบุหรี่ ฮิต: 280

ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ศจย. แนะว่า หากพระสงฆ์สามารถเลิกบุหรี่ด้วยตนเองได้ ก็จะเป็นต้นแบบที่ดีให้ฆราวาส ขณะที่อาจารย์ประจำคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระบุ พระสงฆ์มีกลยุทธ์ 5 ส. ขับเคลื่อนงานลดปัจจัยเสี่ยงและควบคุมยาสูบ

อ.ดร.วศิน พิพัฒนฉัตร ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) และอาจารย์ประจำคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึงงานวิจัยกับการสนับสนุนงานควบคุมยาสูบในพระสงฆ์ใน “เวทีนำเสนอการขับเคลื่อนงาน “วัดปลอดบุหรี่” และ “ลดปัจจัยเสี่ยง” ของเครือข่ายพระสงฆ์ 4 ภาค” โดยระบุว่า ศจย. ทำหน้าที่ในการสร้างงานวิจัย 2 ระดับ คือ งานวิจัยเพื่อการสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบาย และการทำงานขับเคลื่อนยาสูบในพื้นที่ชุมชน โดยได้ร่วมมือกับคณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ “ประสิทธิผลของชุดส่งเสริมการเลิกบุหรี่ด้วยตนเองในพระสงฆ์” ซึ่งเป็นการวิจัยในกลุ่มทดลองเพื่อเปรียบเทียบ โดยแยกพระสงฆ์ในจังหวัดปราจีนบุรีออกเป็น 2 กลุ่ม คือ พระสงฆ์กลุ่มทดลองที่ได้รับชุดส่งเสริมการเลิกบุหรี่ด้วยตนเองในพระสงฆ์ และกลุ่มควบคุมที่ได้รับคำแนะนำแบบกระชับเพื่อการเลิกบุหรี่จากอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โดยเก็บข้อมูลเป็นเวลา 1 ปี เพื่อนำมาสู่การออกแบบเครื่องมือให้พระสงฆ์เลิกบุหรี่ ซึ่งการศึกษาก็ค้นพบว่าคู่มือที่ให้พระสงฆ์เลิกบุหรี่ได้ด้วยตนเอง ถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการช่วยให้พระสงฆ์เลิกสูบบุหรี่ได้ โดยให้พระสงฆ์ที่เข้าร่วมการวิจัยตอบแบบสอบถามว่า สามารถเลิกบุหรี่ได้เด็ดขาดหรือไม่ พร้อมกับตรวจคาร์บอนมอนนอกไซด์ในลมหายใจควบคู่กันไปด้วย เพื่อเปรียบเทียบสัดส่วนความพยายามเลิกบุหรี่และอัตราการเลิกบุหรี่

ทั้งนี้ ผลจากการวิจัย พบว่า พระสงฆ์กลุ่มทดลองที่ได้รับชุดส่งเสริมการเลิกบุหรี่ด้วยตนเองสามารถเลิกบุหรี่ได้มากกว่ากลุ่มควบคุม แต่ก็สามารถลดการสูบบุหรี่ลงได้อย่างมีนัยสำคัญ และพระสงฆ์กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มองว่า ชุดส่งเสริมเลิกบุหรี่ด้วยตนเอง สามารถช่วยเลิกได้บุหรี่จริง ถือเป็นงานวิจัยที่นำมาใช้ประโยชน์ได้ เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างนวัตกรรมที่นำมาสู่การเลิกบุหรี่ในกลุ่มพระสงฆ์ได้ เปรียบเสมือนเป็นคู่มือเลิกบุหรี่สำหรับทั้งพระสงฆ์และฆราวาส ซึ่ง ศจย. จะส่งต่อผลการวิจัยไปยังสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) และภาคีเครือข่าย เพื่อขยายผลงานวิจัยชิ้นนี้ออกไปในวงกล้าง พร้อมจะร่วมมือกับคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบจังหวัด ในการควบคุมยาสูบภายในวัดด้วย โดยหากพระสงฆ์ที่สนใจคู่มือชุดส่งเสริมการเลิกบุหรี่ด้วยตนเอง สามารถติดต่อขอคู่มือมาที่ ศจย. ได้โดยตรง

“พระสงฆ์เองถือว่าเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในชุมชน การมีงานวิจัยที่พัฒนาทักษะให้เลิกบุหรี่ได้ก็ถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะจะสามารถถ่ายทอดประสบการณ์ความรู้ที่พระสงฆ์เองเคยพบเจอให้กับฆราวาสได้เห็นถึงคุณค่าของการเลิกบุหรี่ได้” อ.ดร.วศิน กล่าวทิ้งท้าย

Credit : https://www.khaosod.co.th/pr-news/news_6740195

พิมพ์