แพทย์นานาชาติ-ไทยยันสูบบุหรี่เสี่ยงติดโควิด

แพทย์นานาชาติ-ไทยยันสูบบุหรี่เสี่ยงติดโควิด

รศ.นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล หัวหน้าสาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค ภาควิชา อายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะ นายกสมาคมอุรเวชช์ แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เข้าร่วมเสวนา“บุหรี่กับโควิด 19” ในเวที การประชุมบุหรี่หรือสุขภาพเอเชียแปซิฟิก ครั้งที่ 13 (13th APACT 2021 Bangkok) ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ และนำเสนอผลการศึกษา ในกลุ่มผู้ติดเชื้อที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลศิริราช

ช่วงการแพร่ระบาดระลอกแรกของเชื้อไวรัส โคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (โควิด 19) เมื่อปี 2563 พบ ผู้ติดเชื้อโควิดที่เป็นชายมาก ทั้งในกลุ่มอายุน้อยกว่า 35 ปี และกลุ่มที่อายุมากกว่า 35 ปี โดยมากกว่าครึ่งเคยมีประวัติการสูบบุหรี่ และจำนวนผู้ติดเชื้อมีราวร้อยละ 10 ต้องเข้ารับการรักษาในห้องไอซียู

นพ.นิธิพัฒน์ กล่าวแม้ว่าตัวเลขกลุ่มผู้ติดเชื้อในระลอกแรกของไทยมีจำนวนน้อย แต่ผลการเก็บ ข้อมูลครั้งนั้นทำให้ทีมวิจัยทราบว่า ผู้ป่วยโควิด19 ที่เคยมีประวัติสูบบุหรี่ จะมีอาการรุนแรงและเสี่ยงต่อการ เสียชีวิตมากกว่า และให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ทีมวิจัยกำลังเก็บข้อมูลผู้ป่วยโควิดในช่วงการระบาดระลอกใหม่นี้ เพื่อทำการศึกษาต่อไป เพราะมียอดผู้ติดเชื้อที่เข้ารับการรักษาด้วยอาการปอดอักเสบที่โรงพยาบาล เป็นจำนวนมาก

“ในขณะที่ประเทศไทยกำลังเผชิญกับการระบาดของโควิด19 การออกมาให้ข้อมูลและข้อเท็จจริง ถึงความเชื่อมโยงของเชื้อไวรัสและพฤติกรรมการสูบบุหรี่เป็นเรื่องจำเป็น เพราะบุหรี่ทำให้เกิดการติดเชื้อ ที่ปอดด้านล่างได้ง่าย เชื้อโควิดจะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันลดลง ยิ่งคนสูบบุหรี่อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม ก็จะทำให้เกิด การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสได้ นอกจากนี้ผู้ที่มีประวัติการสูบบุหรี่อาจต้องเผชิญปัญหาโรคพังผืดที่ปอด โรคปอด และทางเดินหายใจเรื้อรังได้ในระยะยาวหากติดเชื้อโควิด แม้ว่าจะได้รับการรักษาหายแล้วก็ตาม” นพ.นิธิพัฒน์ กล่าว พร้อมให้คำแนะนำเพิ่มเติมว่า ในภาวะที่คนส่วนใหญ่รวมทั้งนักสูบต้องกักตัวอยู่บ้าน ในช่วงล็อคดาวน์ หรือจำเป็นต้องรักษาตัวอยู่บ้าน อาจจะทำให้เกิดความเครียดได้ หากมีโครงการดูแล ให้คำปรึกษาผู้สูบบุหรี่ เยียวยาทางจิตใจ อาจเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยให้ผู้สูบสามารถเลิกบุหรี่ได้ในอนาคต

Credit : https://siamrath.co.th/n/277743


พิมพ์