เปิดเวทีแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ให้นักสูบตระหนักติดโควิดเสี่ยงตายสูง

เปิดเวทีแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ให้นักสูบตระหนักติดโควิดเสี่ยงตายสูง

สสส.จับมือภาคีเครือข่ายจัดเสวนา“บุหรี่-บุหรี่ไฟฟ้า กับสถานการณ์ Covid-19” พบการสูบบุหรี่ยิ่งทำให้ผู้ป่วยติดเชื้อมีโอกาสเสี่ยงทรุดจนเสียชีวิตได้มากกว่าเดิม 14 เท่า เมื่อวันที่ 19 ก.พ. โครงการสนับสนุนและสื่อสารการขับเคลื่อนงานของภาคีเครือข่ายควบคุมยาสูบ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ร่วมกับศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) กองงานคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ กรมควบคุมโรค คณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ และสถาบันยุวทัศน์แห่งประเทศไทย จัดงานเสวนาวิชาการเรื่อง “บุหรี่-บุหรี่ไฟฟ้า กับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค Covid-19 : ยิ่งสูบ ยิ่งเสี่ยง” เพื่อให้เกิดพื้นที่แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในการควบคุมยาสูบ โดยเฉพาะในช่วงการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 พร้อมชี้ให้ผู้สูบบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า ตระหนักถึงความเสี่ยงจะที่เกิดความรุนแรงของโรคมากขึ้น เมื่อติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ณ โรงแรมปทุมวัน ปริ๊นเซส

รศ.ดร.สสิธร เทพตระการพร คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ กล่าวว่า เชื้อโควิด-19 ถือเป็นโรคอุบัติใหม่ที่มีผลต่อระบบทางเดินหายใจ และแพร่จากคนสู่คนได้ผ่านทางละอองฝอยหรือน้ำลาย โดยตั้งแต่เกิดการระบาดของเชื้อไวรัสชนิดเมื่อปีที่แล้วก็ส่งผลอย่างมากต่อการใช้ชีวิตของประชาชนโดยรวม ขณะที่บุหรี่ก็ทำให้เกิดอาหารโรคไม่ติดต่อแบบเรื้อรังหรือ NCDs และยังทำให้คนที่อยู่ใกล้เคียงได้รับควันบุหรี่มือสองอีกด้วย ส่งผลให้ร่างกายของผู้ได้รับควันบุหรี่อ่อนแอลง ซึ่งปัจจัยทั้งสองส่วนนี้เมื่อมารวมกันแล้ว ก็ทำให้การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เกิดขึ้นได้ง่าย ยกตัวอย่างกรณีในจ.ฉะเชิงเทราที่พบพฤติกรรมเสี่ยงในการสูบบุหรี่มวนเดียวกันกว่า 20 คน ซึ่งการสูบบุหรี่มวนเดียวกันนี้ นอกจากทำให้เชื้อไวรัสโควิด-19 แพร่กระจายผ่านน้ำลายที่ติดบนพื้นผิววัสดุแล้ว ยังมีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคติดต่อแบบอื่น ๆ ที่ผ่านทางน้ำลายได้อีก เช่น คอตีบ เริม ไอกรน คางทูม หัดเยอรมัน และไวรัสตับอักเสบชนิดเอและบี......

Credit : https://www.posttoday.com/social/general/646060?fbclid=IwAR03nccytoia1pS-xz3DBuqShYomddCnw8nZuFwOHWm_o7PjTZsFTX8nrjQ


พิมพ์