ข่าวสารบุหรี่

“พิสิฐ” แฉรายใหญ่ค้าบุหรี่ไฟฟ้าอยู่ในสภา วัยรุ่นติดเพียบ “หมอประกิต” ดัก รบ.อย่าสิ้นปัญญาหาเงินแลกสุขภาพ

“พิสิฐ” แฉรายใหญ่ค้าบุหรี่ไฟฟ้าอยู่ในสภา วัยรุ่นติดเพียบ “หมอประกิต” ดัก รบ.อย่าสิ้นปัญญาหาเงินแลกสุขภาพ

กมธ.การเงินฯ ช็อกวัยรุ่นติดบุหรี่ไฟฟ้าพุ่งกระฉูด “พิสิฐ” แฉพ่อค้ารายใหญ่แฝงตัวในรัฐสภา-กมธ. วอนคลังอย่าตกเป็นเบี้ยล่างให้คนล็อบบี้ ยันมีสารอันตรายต่อร่างกาย “หมอประกิต” ตอกแรง รัฐอย่าสิ้นปัญญาหารายได้จากบุหรี่ไฟฟ้า แต่ทำร้ายสุขภาพคนไทยทั้งชาติ

ความจริง! บุหรี่ไฟฟ้าอันตรายน้อยกว่าบุหรี่มวน? ความเชื่อของเด็กไทยที่ฮิตสูบ

ความจริง! บุหรี่ไฟฟ้าอันตรายน้อยกว่าบุหรี่มวน? ความเชื่อของเด็กไทยที่ฮิตสูบ

วิกฤตสุขภาวะวัยรุ่นไทย น่าห่วงบุหรี่ไฟฟ้าพุ่งเป้าเยาวชน อึ้ง เด็กป. 5 ในโรงเรียนภาคอีสานแห่งหนึ่งสูบุหรี่ไฟฟ้าถึง 20 คน ห่วงครู พ่อ แม่ รู้ไม่เท่าทันบุหรี่รูปแบบใหม่ แนะรัฐคงมาตรการแบน ปราบปรามเข้มงวด สร้างบรรทัดฐานสังคมใหม่ ไม่ยอมรับ สูบบุหรี่/บุหรี่ไฟฟ้า

เมื่อวันที่ 1 พ.ย. 2565 ที่โรงแรมแมนดาริน กรุงเทพฯ ภาคีเครือข่ายควบคุมยาสูบในประเทศไทย จัดเสวนาวิชาการ “บุหรี่ไฟฟ้า วิกฤตสุขภาวะวัยรุ่นไทย” โดย ศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ คณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบแห่งชาติ กล่าวว่า ปัจจุบันสถานการณ์การระบาดของบุหรี่ไฟฟ้าในกลุ่มวัยรุ่นน่าเป็นห่วง โดยเฉพาะกลุ่มนักสูบหน้าใหม่และวัยรุ่นหญิงที่เริ่มเข้ามาสูบบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น จากข้อมูลสำรวจสุขภาพคนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562-2563 พบวัยรุ่นอายุ 10-19 ปี เคยลองสูบบุหรี่ไฟฟ้า 5.3% สูบเป็นประจำ 2.9% ที่น่าตกใจคือ 30% ของวัยรุ่นที่สูบบุหรี่ไฟฟ้าเป็นประจำเป็นผู้หญิง บุหรี่ไฟฟ้าจึงถือเป็นภัยร้ายตัวใหม่ในวัยรุ่น เพราะทำให้วัยรุ่นที่ไม่นิยมสูบบุหรี่ เช่น ผู้หญิง เข้ามาสนใจสูบบุหรี่ไฟฟ้าจนสุดท้ายนำไปสู่การเสพติดสิ่งเสพติดอื่น ๆ เช่น กัญชา ยาบ้า โคเคน เฮโรอีน ก่อให้เกิดปัญหาสังคมตามมาอีกมากมาย

นางฐาณิชชา ลิ้มพานิช ผู้จัดการโครงการครอบครัวปลอดบุหรี่ กล่าวว่า ขณะนี้พบการสูบบุหรี่ไฟฟ้าของเด็กระดับประถมศึกษาในหลายพื้นที่ ส่วนใหญ่สูบเพราะความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เข้าใจผิดว่าผลิตภัณฑ์บุหรี่ไฟฟ้าแบบใหม่ ๆ เช่น พอต ไม่ใช่บุหรี่ไฟฟ้า ไม่อันตรายและไม่เสพติด ซึ่งพ่อแม่ผู้ปกครองยังขาดความรู้และไม่รู้ว่าผลิตภัณฑ์พวกนี้เป็นบุหรี่ไฟฟ้า เพราะรูปลักษณ์ภายนอกคล้ายอุปกรณ์การเรียนของเด็ก เช่น ปากกา น้ำยาลบคำผิด เด็ก ๆ สามารถเข้าถึงบุหรี่ไฟฟ้าได้ง่าย เพราะวางขายในตลาดนัด ทางออนไลน์ และบางพื้นที่มีการแจกบุหรี่ไฟฟ้าให้วัยรุ่นลองใช้อีกด้วย อีกทั้งข้อมูลที่ได้จากการทำงานกับสถานศึกษา การเยี่ยมบ้านของคุณครู พบว่ามีผู้ปกครองสูบบุหรี่ในบ้าน ซึ่งส่งผลกระทบต่อเด็ก ทำให้เด็กกลุ่มนี้มีแนวโน้มสูบบุหรี่หรือบุหรี่ไฟฟ้าด้วย จึงอยากให้มีการรณรงค์เรื่องนี้ในครอบครัวอย่างจริงจัง

ด้านรศ.ดร.พญ.เริงฤดี ปธานวนิช ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เปิดเผยข้อมูลงานวิจัยบุหรี่ไฟฟ้าในเด็กและเยาวชนไทยระดับมัธยมต้นอายุ 11-16 ปี (อายุเฉลี่ย 13 ปี) พบสาเหตุสำคัญ 5 ประการ ที่ทำให้เด็กไทยติดบุหรี่ไฟฟ้า 1.มีพ่อแม่หรือคนในครอบครัวสูบบุหรี่ไฟฟ้า 2.มีเพื่อนสูบบุหรี่ไฟฟ้า 3.เพื่อนและคนรอบตัวมองว่าการสูบบุหรี่เป็นเรื่องปกติ 4.เคยสูบบุหรี่ธรรมดามาก่อน 5.เข้าใจผิดว่าบุหรี่ไฟฟ้าไม่มีอันตราย โดยเด็กกลุ่มนี้มีแนวโน้มที่จะสูบบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นถึง 5.3 เท่า นอกจากนี้ ยังพบว่าเด็กที่ไม่เคยสูบบุหรี่ใด ๆ มาก่อน เมื่อเริ่มลองสูบบุหรี่ไฟฟ้าจนติดต้องสูบเป็นประจำ ภายในระยะเวลา 1 ปี จะมีแนวโน้มที่จะเริ่มลองสูบบุหรี่ธรรมดาเพิ่มขึ้น 5.4 เท่า และมีแนวโน้มที่จะติดทั้งบุหรี่ไฟฟ้าและบุหรี่ธรรมดา (dual use) เพิ่มขึ้นถึง 7 เท่า แสดงให้เห็นถึงปรากฏการณ์ที่เรียกว่า gateway effects ของบุหรี่ไฟฟ้า หรือ ประตูสู่สารเสพติดอื่นๆ รวมถึงบุหรี่ธรรมดา

รศ.ดร.พญ.เริงฤดี กล่าวต่อว่า สถาบันวิจัยอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล ศึกษาข้อมูลการสูบบุหรี่ไฟฟ้าของเด็กและเยาวชนในกรุงเทพฯ อายุ 14-17 ปี พบว่าเด็กที่สูบบุหรี่ไฟฟ้าส่วนใหญ่ 72% มีการใช้สารเสพติดอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น สุรา กัญชา บุหรี่ และงานวิจัยในต่างประเทศพบว่ายิ่งเด็กเริ่มสูบบุหรี่ไฟฟ้าตอนอายุยิ่งน้อย ยิ่งเสี่ยงที่จะติดสารเสพติดอื่น ๆ มากขึ้น บุหรี่ไฟฟ้าจะก่อให้เกิดปัญหานำไปสู่การใช้สารเสพติดต่าง ๆ แล้ว ยังมีผลกระทบต่อสุขภาพ เพราะนิโคตินในบุหรี่ไฟฟ้าเป็นสารเสพติดจะส่งผลโดยตรงต่อสมองและระบบประสาท โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กและเยาวชนที่สมองจะเจริญเติบโตไม่เต็มที่ พิษของนิโคตินในบุหรี่ไฟฟ้าจะส่งผลให้เด็กที่สูบมีอาการหงุดหงิดง่าย เรียนหนังสือไม่รู้เรื่อง ความจำแย่ลง ปวดศีรษะ อารมณ์แปรปรวน สมาธิสั้น และมีภาวะซึมเศร้า จากข้อมูลสำรวจสุขภาพคนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562-2563 พบเด็กและเยาวชนไทยอายุ 10-19 ปี ที่สูบบุหรี่ไฟฟ้ากว่าครึ่งหรือ 53% มีภาวะเสี่ยงโรคซึมเศร้าด้วยและเด็กที่เคยลองสูบบุหรี่ไฟฟ้ามีแนวโน้มจะเป็นโรคซึมเศร้าเพิ่มขึ้น 2 เท่า อีกทั้งงานวิจัยใหม่ยังชี้ว่า น้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ อาจเสียชีวิตเฉียบพลัน

Credit : https://www.hfocus.org/content/2022/11/26317

เคาะ ‘ศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์’ เป็นสถานบริการในระบบบัตรทอง

เคาะ ‘ศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์’ เป็นสถานบริการในระบบบัตรทอง

บอร์ดสปสช.เคาะ "ศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์" เป็นสถานบริการในระบบบัตรทอง พร้อมให้บริการสายด่วนเลิกบุหรี่ 1600 ตั้งเป้า 2.1 หมื่นคนต่อปี...เมื่อวันที่ 16 ต.ค. นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ครั้งที่ 10/2565

สกู๊ปพิเศษ : แพทย์ยกข้อมูล‘WHO-องค์กรสุขภาพทั่วโลก’

สกู๊ปพิเศษ : แพทย์ยกข้อมูล‘WHO-องค์กรสุขภาพทั่วโลก’

สกู๊ปพิเศษ : แพทย์ยกข้อมูล‘WHO-องค์กรสุขภาพทั่วโลก’ยืนยัน เด็กสูบ‘บุหรี่ไฟฟ้า’เสี่ยงติด‘บุหรี่ธรรมดา’เพิ่มขึ้น เป็นคำถามที่มีการถกเถียงกันว่า การหันมาสูบ“บุหรี่ไฟฟ้า”จะช่วยให้เลิก“บุหรี่ธรรมดา”ได้จริงหรือไม่? โดยเมื่อไม่นานมานี้ ฝ่ายสนับสนุนบุหรี่ไฟฟ้าอ้างว่า ไม่มีหลักฐานที่เชื่อถือได้มากพอว่า บุหรี่ไฟฟ้าเป็นประตูไปสู่การสูบบุหรี่

แฉแผนวิ่งเต้นปลดล็อกบุหรี่ไฟฟ้าซัดรายงาน กมธ.พาณิชย์จุดอ่อนอื้อ!

แฉแผนวิ่งเต้นปลดล็อกบุหรี่ไฟฟ้าซัดรายงาน กมธ.พาณิชย์จุดอ่อนอื้อ!

เครือข่ายแพทย์ ชำแหละรายงานบุหรี่ไฟฟ้า กมธ.พาณิชย์ จุดอ่อนอื้อ ไม่สนผลกระทบสุขภาพ-สังคม แฉแผนวิ่งเต้นนั่ง กมธ.หลายชุด ดันปลดล็อกบุหรี่ไฟฟ้า...
เมื่อวันที่ 13 ต.ค. ผศ.ดร.ทพ.ณัฐวุธ แก้วสุทธา คณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.) ตั้งข้อสังเกต กรณีมีการเผยแพร่ รายงานผลการพิจารณา

เป้าหมายของบุหรี่ไฟฟ้าคือเด็กและเยาวชน

เป้าหมายของบุหรี่ไฟฟ้าคือเด็กและเยาวชน

แพทย์รามาฯ แจงข้อมูลบุหรี่ไฟฟ้า สรุปประเด็นสำคัญได้ดังนี้ เป้าหมายสำคัญของบุหรี่ไฟฟ้า คือ เด็กและเยาวชน ดูได้จากรสชาติของบุหรี่ไฟฟ้าที่มีเกือบ 2 หมื่นชนิด เกือบทั้งหมดเป็นรสชาติสำหรับเด็ก รวมทั้งอัตราการสูบบุหรี่ไฟฟ้าส่วนใหญ่ในทุกประเทศ พบมากที่สุดในเด็กและเยาวชน ไม่ใช่ผู้ใหญ่

แรงงานไทยสิงห์อมควัน 20.5% สูบหนัก 1-10 มวนต่อวัน ส่วนหนึ่งไม่เข้าใจโทษบุหรี่ไฟฟ้า

แรงงานไทยสิงห์อมควัน 20.5% สูบหนัก 1-10 มวนต่อวัน ส่วนหนึ่งไม่เข้าใจโทษบุหรี่ไฟฟ้า

เปิดข้อมูลแรงงานไทยสิงห์อมควัน 20.5% สูบหนัก 1-10 มวนต่อวัน พยายามเลิก แต่ไม่สำเร็จถึง 59% ส่วนใหญ่ไม่ขอรับคำปรึกษา แหล่งซื้อส่วนใหญ่จากร้านสะดวกซื้อ ขณะที่แรงงานสูบบุหรี่ส่วนใหญ่ 70% มีการสูบในที่ทำงานด้วย โดยสูบในพื้นที่บริษัทจัดไว้ให้ 87% และสูบบุหรี่ในที่ห้ามสูบ 13% พบข้อมูลระดับการศึกษาสูงจะสูบบุหรี่น้อยกว่า

ช็อค! วิจัยพบไทยสูญเสียรายได้จากบุหรี่หนีภาษีปีละกว่า 13,000 ล้านบาท

เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม ผศ.ดร.ภิฤดี ภวนานันท์ อดีตอาจารย์คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นักวิจัยโครงการวิจัยการประมาณการการค้าและการบริโภคบุหรี่ผิดกฎหมายในประเทศไทย ปี 2013-2018 สนับสนุนโดยศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) คณะแพทยศาสตร์รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยรายงานการวิจัยฉบับนี้ว่า

งานวิจัยพบว่า หากพ่อได้รับควันบุหรี่มือสอง แม้ไม่ได้สูบเอง

งานวิจัยพบว่า หากพ่อได้รับควันบุหรี่มือสอง แม้ไม่ได้สูบเอง

งานวิจัยพบว่า หากพ่อได้รับควันบุหรี่มือสอง แม้ไม่ได้สูบเอง แต่มีโอกาสทำให้เด็ก-ลูกหลาน เป็นหอบหืดได้มากขึ้น ผลการศึกษาที่เผยแพร่ผ่านวารสาร ‘European Respiratory Journal’ ได้แสดงให้เห็นถึงหลักฐานว่า ควันบุหรี่สามารถสร้าง ‘ผลกระทบข้ามรุ่น’ แม้พ่อของเด็กจะไม่ได้สูบบุหรี่โดยตรง แต่หากเด็กได้รับควันบุหรี่จากพ่อของเขา

X

Main Menu