สถิติโชว์โจ๋หญิงในเมืองมีแนวโน้มสูบบุหรี่เพิ่มขึ้น พบ 4 ปัจจัยส่งผลให้โจ๋หญิง ก้าวเข้าสู่สังคมอมควัน

สถิติโชว์โจ๋หญิงในเมืองมีแนวโน้มสูบบุหรี่เพิ่มขึ้น พบ 4 ปัจจัยส่งผลให้โจ๋หญิง ก้าวเข้าสู่สังคมอมควัน

สถิติโชว์โจ๋หญิงในเมืองมีแนวโน้มสูบบุหรี่เพิ่มขึ้น พบ 4 ปัจจัยส่งผลให้โจ๋หญิง ก้าวเข้าสู่สังคมอมควัน | Press Release: ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) ข่าวเผยแพร่: วันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ.2561 (วันที่ข่าวตีพิมพ์สามารถเผยแพร่ได้ทันที) จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติปี 2560 พบอัตราการสูบบุหรี่ในกลุ่มวัยรุ่นหญิงอายุ 15-19 ปีในเขตเมืองพุ่งสูงขึ้นเกือบเท่าตัว จาก 0.8% เมื่อการสำรวจปี 2557

มาเป็น 1.4% หรือประมาณ 13,000 คน

ดร.พญ.เริงฤดี ปธานวนิช รองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) เผยงานวิจัยล่าสุดที่ทำการสำรวจสถานบันเทิงรอบมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคเหนือ โดยเจาะเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นหญิง พบว่า 32% ของวัยรุ่นหญิงที่มาเที่ยวสถานบันเทิงสูบบุหรี่ ซึ่งตัวเลขสูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศกว่า 20 เท่า งานวิจัยยังสรุปปัจจัยสำคัญ 4 ประการที่ส่งผลให้วัยรุ่นหญิงก้าวสู่สังคมสิงห์อมควันมากขึ้น ได้แก่ เที่ยวกลางคืนตามสถานบันเทิง (9 เท่า), มีแฟนหรือเพื่อนสนิทที่สูบบุหรี่ (5 เท่า), มีคนในครอบครัวสูบบุหรี่ (3 เท่า) และเชื่อว่าสูบบุหรี่ทำให้ดูดีมีเพื่อนมาก (3 เท่า) นอกจากนี้ยังพบว่าวัยรุ่นหญิงส่วนใหญ่เริ่มสูบบุหรี่ครั้งแรกอายุต่ำกว่า 19 ปี และการหาซื้อบุหรี่ทำได้ง่ายโดยสามารถหาซื้อได้จากร้านขายของชำ ร้านสะดวกซื้อ และยังสามารถซื้อได้จากสถานบันเทิงบริเวณรอบมหาวิทยาลัย โดยวัยรุ่นที่ไปเที่ยวกว่า 50% ซื้อบุหรี่ที่สถานบันเทิง และยังพบว่าภายในสถานบันเทิงมีการสูบบุหรี่สูงถึง 22% แม้ว่าจะเป็นเขตปลอดบุหรี่ตามกฎหมาย
ศ.นพ.รณชัย คงสกนธ์ ผอ.ศจย. กล่าวเพิ่มเติมว่า มีงานวิจัยในต่างประเทศหลายชิ้น ที่สรุปผลตรงกันว่าการเข้าถึงบุหรี่ได้โดยง่ายโดยเฉพาะบริเวณใกล้บ้านหรือโรงเรียน ส่งผลต่อการเริ่มสูบบุหรี่ในกลุ่มวัยรุ่นและยังทำให้วัยรุ่นมีค่านิยมที่คุ้นเคยกับการสูบบุหรี่ ดังนั้นการจำกัดการเข้าถึงบุหรี่โดยการจำกัดจำนวนร้านค้าปลีกโดยเฉพาะบริเวณชุมชนและสถานศึกษาจึงเป็นสิ่งสำคัญ ปัจจุบันประเทศไทยมีร้านค้าปลีกบุหรี่จำนวนมากกว่า 800,000 ร้าน หรือเฉลี่ย 4 ร้านทุกๆพื้นที่ 1 ตร.กม. ซึ่งค่าธรรมเนียมใบอนุญาตขายบุหรี่ของไทยยังมีอัตราต่ำเพียงปีละ 100 บาท

อ้างอิง: Phetphum C. et al. (2018). Predicting Factors for Smoking Behavior among Women Who Frequent Nightlife Entertainment Venues around a University in the Northern Region of Thailand. Substance Abuse, 12: 1-6.
รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ: หริสร์ ทวีพัฒนา นักวิชาการ ศจย. โทรศัพท์ 061-7244411 E-mail: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.


พิมพ์