Press Release : ภาคีเครือข่ายต้านยาสูบเอเชีย-แปซิฟิก 40 ชาติ

Press Release : ภาคีเครือข่ายต้านยาสูบเอเชีย-แปซิฟิก 40 ชาติ

ศจย. ร่วมกับ แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาพันธ์เครือข่าย- แห่งชาติเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ และ สสส. เป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมบุหรี่หรือสุขภาพเอเชีย แปซิฟิก ครั้งที่ 13 หวังสร้างความตระหนักถึงพิษภัยยาสูบร้ายแรงกว่าโควิด 19 ระบุคนตายจากบุหรี่ ต่อปีมากกว่าโควิด 3-4 เท่า พร้อมออกปฏิญญาทั้งระดับปฏิบัติงานและกลุ่มเยาวชน

เพื่อเสริมความ แข็งแกร่งของการควบคุมยาสูบระดับนานาชาติ ด้านนักวิชาการไทยและต่างประเทศตบเท้าเข้าร่วม กว่า 2,700 คน พร้อมงานวิจัยเกี่ยวกับยาสูบและสุขภาพอัพเดตล่าสุด กว่า 300 ผลงาน

ศ.นพ.รณชัย คงสกนธ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและจัดการวามรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) คณะ แพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ในฐานะ ประธานจัดงานประชุม 13th APACT 2021 Bangkok กล่าวถึงที่มา และความน่าสนใจของงานประชุมด้านยาสูบระดับนานาชาติในครั้งนี้ว่า งานประชุมบุหรี่หรือสุขภาพเอเชียแปซิฟิก ครั้งที่ 13 หรือ 13th Asia Pacific Conference on Tobacco or Health (13th APACT 2021 Bangkok) ที่ประเทศไทยได้รับเกียรติ เป็นเจ้าภาพจัดงานเป็นครั้งที่ 3 ตลอดระยะเวลาการจัดประชุมที่ APACT ที่ยาวนานกว่า 26 ปี นั้น ในปีนี้เป็นความร่วมมือ ระหว่าง ศจย. แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาพันธ์เครือข่ายแห่งชาติเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และอีก 12 องค์กรพันธมิตร ตกลงจัดงานประชุม ในลักษณะลงทะเบียนเข้าร่วมประชุมแบบ Live Stream ระหว่างวันที่ 3-4 กันยายน 2564 เนื่องจากสถานการณ์โควิด 19 หวังสร้างสังคมปลอดบุหรี่ รวมถึงสร้างความตระหนักถึงพิษภัยของยาสูบที่ร้ายแรงกว่าโรคระบาดอุบัติใหม่อย่างโควิด 19 เพราะจำนวนผู้ที่เสียชีวิตทั่วโลกจากยาสูบต่อปีมากกว่าโควิด 19 ถึง 3-4 เท่า และบุหรี่ยังเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของโลก ในประเทศไทยเองบุหรี่เป็นสาเหตุอันดับหนึ่งที่ก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ โดยประชาชนทั่วไปที่สนใจสามารถ รับทราบข่าวสารงานประชุมได้ที่เว็บไซต์ www.apact2021.com
ศ.นพ.รณชัย กล่าวต่ออีกว่า ภายในงาน 13th APACT 2021 Bangkok ยังมีงานประชุมวิชาการที่น่าสนใจอีก 2 งาน คือ การประชุมวิชาการ 100 ปี แพทยสมาคม หรือ Medical Association of Thailand 1921 – 2021 โดย แพทยสมาคม แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และ การประชุมวิชาการบุหรี่กับสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 19 หรือ TRC INTERNATIONAL CONFERENCE 2021 “Empowering Policy Implementation on Tobacco Control” โดย ศจย. ที่จะดำเนินไปพร้อมกัน นับเป็นการเสริมพลังวิชาการด้านงานควบคุมยาสูบ ที่จะแปรเป็นโยบายเพื่อควบคุมการบริโภคยาสูบ ในประเทศไทย และภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิก ให้เข้มแข็งทั้งในปัจจุบันและต่อเนื่องไปยังอนาคต
“ขณะนี้มีผู้เชี่ยวชาญทั้งในประเทศไทยและระดับนานาชาติ ในฐานะภาคีเครือข่ายควบคุมการบริโภคยาสูบจาก ภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิก ราว 2,700 คน จาก 40 ประเทศ ตอบรับเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การขับเคลื่อนให้สังคมปลอดบุหรี่ โดยเป็นคนไทยประมาณ 2,200 คน ต่างชาติ 500 กว่าคน มากที่สุดตั้งแต่จัด APACT มา ซึ่งในจำนวนนี้เป็นนักวิชาการ ด้านยาสูบโดยเฉพาะกว่า 120 คน นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยและผลงานวิชาการเกี่ยวกับความก้าวหน้าในการควบคุมยาสูบ และสุขภาพด้านต่างๆ อีก 300 กว่าชิ้น จาก 36 ประเทศ ที่จะมาอัพเดตให้ผู้ที่สนใจได้รับทราบ ไม่ว่าจะเป็น บุหรี่ และบุหรี่ไฟฟ้ากับโควิด 19 ที่มีงานวิจัยออกมาชัดเจนว่ามีความเกี่ยวข้องกัน นโยบายเพื่อหยุดการใช้ยาสูบ ผลกระทบการเก็บ ภาษีผลิตภัณฑ์ยาสูบและ นิโคติน อนาคตการควบคุมยาสูบ รวมถึงกรณีเยาวชนในเอเชีย – แปซิฟิกจับมือออกปฏิญญา รณรงค์ต้านยาสูบ ซึ่งนับเป็น ปรากฏการณ์ใหม่ที่คนวัยใสหันมาสนใจเรื่องยาสูบและสุขภาพมากขึ้น” ประธานจัดงานประชุม 13th APACT 2021 Bangkok กล่าว


พิมพ์