งานวิจัยล่าสุดชี้ วัยรุ่นที่ใช้บุหรี่ไฟฟ้าจะใช้เวลา 5 นาทีโดยเฉลี่ย "สูบบุหรี่หลังตื่นนอน"

งานวิจัยล่าสุดชี้ วัยรุ่นที่ใช้บุหรี่ไฟฟ้าจะใช้เวลา 5 นาทีโดยเฉลี่ย "สูบบุหรี่หลังตื่นนอน"

งานวิจัยล่าสุดชี้ วัยรุ่นที่ใช้บุหรี่ไฟฟ้าจะใช้เวลา 5 นาทีโดยเฉลี่ย "สูบบุหรี่หลังตื่นนอน" ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของการสูบบุหรี่แบบมวน ถึงแม้ว่าจะมีความแพร่หลายในการใช้บุหรี่ไฟฟ้าในหมู่กลุ่มวัยรุ่นจะลดลงในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่กลุ่มคนที่สูบบุหรี่ไฟฟ้ามีแนวโน้มอายุที่ลดลง และระยะเวลาการสูบกลับยาวนานขึ้นกว่าเดิม

จากการศึกษาล่าสุด โดยทำการศึกษาในกลุ่มเด็กวัยรุ่นที่ใช้แต่บุหรี่ไฟฟ้า พบว่าจำนวนร้อยละผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้าใช้เวลาในการสูบห้านาทีหลังจากตื่นนอนตอนเช้า มีน้อยกว่า 1% ระหว่างช่วงปี พ.ศ 2557 และ 2560 แต่จากผลการศึกษาล่าสุดใน พบว่าตัวเลขเพิ่มขึ้นเป็น 10.3% ในปีพ.ศ 2564 จากการสำรวจล่าสุดของวารสารทางการแพทย์ “JAMA Network Open” ซึ่งมีการประมาณการกันว่าวัยรุ่นอเมริกามากกว่าสองล้านคนใช้บุหรี่ไฟฟ้า และหนึ่งในสี่จะสูบบุหรี่ทุกวัน จากข้อมูลของศูนย์ควบคุมโรคติดต่อของสหรัฐอเมริกา และองค์การอาหารและยาของสหรัฐ

รายงานระบุว่า การใช้เวลาในการสูบบุหรี่ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น อาจจะสะท้อนถึงการเพิ่มขึ้นของการใช้นิโคตินเพื่อใช้ในการลดความเครียด ความวิตกกังวลในของกลุ่มเยาวชนที่เกิดขึ้นในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 โดยโรคระบาดในช่วงเวลาเกือบสามปีที่ผ่านมา ทำให้กระบวนการการให้ความรู้กับเด็กนักเรียนเกี่ยวกับพิษภัยของบุหรี่ทำได้ลดลง รวมถึงการเข้าถึงการรักษาบำบัดด้วย และนักวิจัยยังได้ทำการศึกษาการรายงานข้อมูลด้วยตนเอง ของศูนย์การสำรวจการควบคุมโรคและการป้องกันการเข้าถึงยาสูบในเยาวชน จากกลุ่มตัวอย่าง 151,573 ราย ซึ่งกำลังศึกษาในระดับมัธยมในรัฐต่างๆของสหรัฐอเมริกา พบว่า ในช่วงพ.ศ 2557-2564 ระดับอายุของเยาวชนที่มีการใช้บุหรี่ไฟฟ้าครั้งแรก มีช่วงอายุที่ลดลง แต่มีการใช้ระยะเวลาในการสูบที่ยาวนานขึ้น โดยเพิ่มจากการใช้บุหรี่ไฟฟ้าจาก 2-9 ครั้งต่อเดือน มาเป็นมากกว่า 10 ครั้งต่อเดือน

นักวิจัยยังพบว่า อายุเฉลี่ยของกลุ่มวัยรุ่นที่ใช้บุหรี่ไฟฟ้าครั้งแรกจะมีอายุลดลง ประมาณ 1.9 เดือนตามปีปฏิทิน แต่ตัวเลขไม่ได้เพิ่มขึ้นจากกลุ่มเยาวชนที่สูบบุหรี่แบบปรกติ โดยอายุเฉลี่ยที่มีการสำรวจจะอยู่ที่ 14.5 ปี และในกลุ่มเยาวชนเหล่านี้ ยังพบว่า เยาวชนที่ใช้ผลิตภัณฑ์ยาสูบทุกรูปแบบ จะมีอัตราส่วนของการสูบบุหรี่ครั้งแรกโดยใช้บุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจาก 27.2% ในปีพ.ศ 2557 เป็น 78.3% ใน พ.ศ 2562 และลดลงมาเล็กน้อยที่ 77% ในพ.ศ 2564 จากการสำรวจของคณะวิจัย

ความแพร่หลายของการใช้บุหรี่ไฟฟ้าได้รับความนิยมสูงสุดในช่วง พ.ศ 2562 และมีแนวโน้มลดลง แต่อย่างไรก็ตามพบว่าผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าจำนวนมากได้ใช้เวลาในการสูบที่ยาวนานขึ้นถึง 5 นาที ซึ่งเป็นระยะเวลาที่นานกว่าของคนที่สูบบุหรี่มวนโดยทั่วไป ซึ่งสิ่งที่พบในการวิจัยชิ้นนี้สะท้อนให้เห็นถึงปริมาณนิโคตินที่เข้าสู่ร่างกายมีปริมาณที่สูงขึ้น และการเสพย์ติดจะมีมากขึ้นในบุหรี่ไฟฟ้า เนื่องจากมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบของสารนิโคตินเพื่อให้สามารถสูดระเหยได้มากขึ้น และการเพิ่มความเข้มข้นในการใช้บุหรี่ไฟฟ้าแบบใหม่ ทำให้เยาวชนเสพย์ติดสารนิโคตินเพิ่มมากขึ้นในผลิตภัณฑ์ยาสูบต่างๆ จึงจำเป็นต้องมีการออกกฎระเบียบในการห้ามการขายผลิตภัณฑ์ยาสูบที่มีรสชาติต่างๆ

ซึ่งรายงานวิจัยดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า บุหรี่ไฟฟ้าอาจจะทำให้เยาวชนรุ่นใหม่มีความเสี่ยงสูงในการที่จะเสพย์ติดสารนิโคติน และเขาเหล่านั้นไม่ได้รู้เท่าทันว่ามีปริมาณนิโคตินที่ค่อนข้างสูงในบุหรี่ไฟฟ้า และถึงแม้ว่าการใช้บุหรี่ไฟฟ้าในหมู่วัยรุ่นอเมริกาจะมีแนวโน้มที่ลดลงในช่วงสองสามปีที่ผ่านมาแต่สิ่งที่เป็นที่น่ากังวลคือ มีระยะเวลาในการสูบต่อครั้งที่นานขึ้น และการเสพย์ติดสารนิโคตินในกลุ่มเด็กวัยรุ่นจะทำเกิดผลกระทบต่อมาตรการการควบคุมยาสูบที่ประสบความสำเร็จมาในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา ซึ่งทำให้การสูบบุหรี่ในกลุ่มเยาวชนมีแนวโน้มลดลง แต่การใช้บุหรี่ไฟฟ้าจะทำให้สถานการณ์แย่ลง

ก่อนหน้านี้ช่องว่างของการใช้บุหรี่ไฟฟ้าถูกปิดลง เมื่อองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาได้ออกกฎระเบียบใหม่ในการควบคุมการใช้สารนิโคตินในผลิตภัณฑ์ยาสูบทุกรูปแบบ โดยเมื่อสองปีที่ผ่านมา องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาได้ออกระเบียบการห้ามจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าที่มีรสชาติจากท้องตลาด แต่นักวิจัยได้ตั้งข้อสังเกตว่า กฎระเบียบดังกล่าวออกมาค่อนข้างล่าช้าเนื่องจากบุหรี่ดังกล่าวได้รับความนิยมอยากมากในหมู่วัยรุ่น และเรียกร้องให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาการเสพย์ติดสารนิโคตินในหมู่วัยรุ่น เนื่องจากการเสพย์ติดบุหรี่ก่อให้เกิดโรคเรื้อรัง

งานวิจัยชิ้นดังกล่าว ยังเป็นงานวิจัยชิ้นแรกๆที่ทำการศึกษาสารนิโคตินในกลุ่มวัยรุ่นในช่วงที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 โดยนายแพทย์ สก็อต แฮดแลนด์ หัวหน้ากลุ่มหมอเด็กของมหาวิทยาลัยฮาเวิร์ด กล่าวว่า กลุ่มหมอเด็กส่วนใหญ่ยังไม่ได้มีข้อมูลที่ชัดเจนต่อการใช้สารนิโคตินในเด็ก ท่ามกลางปริมาณการใช้บุหรี่ไฟฟ้าที่สูงมากขึ้นในกลุ่มดังกล่าว แต่แน่นอนพวกเขากังวลกับเรื่องดังกล่าว และจากข้อมูลสถิติแห่งชาติ ชี้ให้เห็นว่าการใช้การสูบบุหรี่ในวัยรุ่นลดลงในช่วงการเกิดโรคระบาด เนื่องจากพฤติกรรมการสูบจะเกิดขึ้นเมื่ออยู่รวมกลุ่มกัน แต่โรคระบาดจำกัดการรวมตัวกัน อย่างไรก็ตาม เขามองว่า ในทางคลินิกแล้ว วัยรุ่นที่มีการสูบบุหรี่จะมีโอกาสติดสารนิโคตินได้ง่ายกว่าในช่วงกลุ่มอายุอื่นๆ และเขายังมีประสบการณ์ตรงที่สอดคล้องกับงานวิจัยว่า เขาพบวัยรุ่นจะสูบบุหรี่ไฟฟ้าบ่อยขึ้น เมื่อเทียบกับการสูบบุหรี่มวน และมีการเสพย์ติดที่มากกว่า เช่นจะต้องสูบบุหรี่เป็นอย่างแรกในตอนเช้า เป็นต้น

Credit : https://www.hfocus.org/content/2022/11/26421


พิมพ์