โรงเรียนปลอดบุหรี่ สร้างต้นแบบ "รุ่นใหม่ไม่แคร์บุหรี่"

โรงเรียนปลอดบุหรี่ สร้างต้นแบบ "รุ่นใหม่ไม่แคร์บุหรี่"

ช่วยเด็กไทยโตไปไม่สูบ ถอดสูตรความสำเร็จ "โรงเรียนปลอดบุหรี่ต้นแบบและแอลกอฮอล์" อีกหนึ่งแนวทางสกัดนักสูบหน้าใหม่ ทำได้จริง สร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวก เริ่มต้นจากโรงเรียน ขยายสู่บ้าน และชุมชน
"นักสูบหน้าใหม่" คืออีกโจทย์ท้าทายที่ประเทศไทย ต้องผลักดันให้จำนวนลดลง เพราะแม้เด็กเยาวชนไม่เคยสูบบุหรี่มาก่อนในวันนี้ แต่เขายังมีโอกาสเสี่ยงที่จะเปลี่ยนใจนำไปสู่การตัดสินใจสูบได้อย่างง่ายดาย

ในอนาคต หากมองถึงแนวทางที่จะสกัดกั้นไม่ให้เยาวชนไทยถลำลึก ก้าวสู่วงจรการทำร้ายสุขภาพได้นั้น อาจต้องเริ่มทั้งจากที่ "บ้าน" และ "โรงเรียน"

"โรงเรียนปลอดบุหรี่ต้นแบบและแอลกอฮอล์" จึงเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่เกิดขึ้นจากการผลักดันของ มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ โดยการสนับสนุนของ สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่จับมือร่วมกับเครือข่ายครูเพื่อโรงเรียนปลอดบุหรี่ที่เล็งเห็นว่า การจะส่งเสริมให้เด็กไทยห่างไกลบุหรี่ได้ ต้องเริ่มที่ "โรงเรียน"

น่าดีใจว่า หลังเปรียบเทียบข้อมูลอัตราการสูบบุหรี่ ในกลุ่มเยาวชน อายุ 15-19 ปีจากสำนักงานสถิติแห่งชาติในปี 2564 พบว่า เยาวชนไทยมีอัตราการสูบบุหรี่ 6.2% หรือลดลงจาก ปี 2560 ที่มีอัตราการสูบบุหรี่ 9.7% ขณะที่การสำรวจจำนวนนักสูบหน้าใหม่ในปี 2564 ยังพบว่า มีจำนวนนักสูบหน้าใหม่ลดลงเหลือ เพียง 155,813 คน ซึ่งลดเกือบสามเท่าเมื่อเทียบกับในปี 2560 ที่มีนักสูบถึง 447,084 คน

แต่ข่าวดีดังกล่าว ไม่ได้เกิดจากความบังเอิญ หากเบื้องลึกตัวเลขแห่งความสำเร็จ ล้วนเป็นผลพวงจาก "ความพยายาม" ของคนหลากหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ที่มาร่วมสร้างสรรค์ทั้งมาตรการต่าง ๆ และพัฒนากิจกรรมป้องกันนักสูบหน้าใหม่

"ครูคือบทบาทสำคัญที่จะทำให้โรงเรียนปลอดบุหรี่" เป็นคำกล่าวแรกของ ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ ประธานมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวถึงคีย์ซักเซสสำคัญ ในเวทีงานเชิดชูเกียรติ 10 โรงเรียนต้นแบบปลอดบุหรี่และแอลกอฮอล์ พื้นที่กรุงเทพฯ พร้อมเล่าถึงที่มาของโครงการโรงเรียนปลอดบุหรี่ พบว่า มีการสูบบุหรี่ทั้งจากบุคลากรและนักเรียนในโรงเรียน แม้ประเทศไทยมีกฎหมายห้ามการสูบบุหรี่แล้วก็ตาม

"เราอยากให้คนละเลิกการสูบบุหรี่ไปตามกฎหมายจริงๆ สำหรับงานรณรงค์การไม่สูบบุหรี่มีเป้าหมายสองด้าน อันดับแรกช่วยคนติดให้เลิกสูบได้ และสองคือ ป้องกันไม่ให้คนที่ไม่เคยสูบติดบุหรี่ เราอยากให้มาตรการสองอย่างนี้เกิดทั่วประเทศ จึงต้องช่วยกันขับเคลื่อนคนละนิดหน่อย รวมถึงการให้เด็กมีส่วนร่วม Health and education เป็นคอนเซ็ปต์ที่อยากให้เกิดขึ้น ซึ่งไม่มีอะไรสำคัญเท่าการสร้างให้เยาวชนมีสติปัญญาและสุขภาพแข็งแรง" ศ.นพ.ประกิต กล่าว

ศ.นพ.ประกิต กล่าวต่อว่า ปัจจุบันสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงคือ บุหรี่ไฟฟ้า กำลังแพร่ระบาดในเด็กและเยาวชน โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกาวัยรุ่นที่สูบบุหรี่ธรรมดาลดลงเหลือ 5% แต่วัยรุ่นที่สูบบุหรี่ไฟฟ้าสูงเกิน 20% ขึ้นไป โดยบุหรี่ไฟฟ้าเป็นอันตรายของนักสูบหน้าใหม่ที่ไม่เคยสูบมาก่อน และเมื่อติดก็เลิกยากเพราะสารนิโคตินเข้มข้น ซึ่งจากการวิจัยพบว่าสมองวัยรุ่นที่ได้รับนิโคตินจะทำให้พร้อมรับสารเสพติดอื่นๆ ไปด้วย คุณครูทุกท่านมีส่วนที่ทำให้ภาพรวมอัตราการสูบบุหรี่ของเยาวชนเราลดลงไป และหากทุกโรงเรียนทั่วประเทศทุกสังกัด กำหนดนโยบายการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามแนวทาง 7 มาตรการเพื่อสถานศึกษาปลอดบุหรี่

อ่านเนื้อหานี้ต่อ คลิก


พิมพ์