WHO ชี้ ทุกปีมีขยะก้นบุหรี่กว่า 4.55 ล้านชิ้น ย้ำ

WHO ชี้ ทุกปีมีขยะก้นบุหรี่กว่า 4.55 ล้านชิ้น ย้ำ

WHO ชี้ ทุกปีมีขยะก้นบุหรี่กว่า 4.55 ล้านชิ้น ย้ำ“บุหรี่” กระทบสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ปลูก ผลิต และสูบจนเป็นขยะ ประกาศประเด็นรณรงค์วันงดสูบบุรี่โลก ปี 2565 ยาสูบ ภัยคุกคามต่อสิ่งแวดล้อม เผยต้องใช้ต้นไม้ 1 ต้นผลิตบุหรี่ 300 มวน 1 มวนใช้น้ำ 3.7 ลิตร เผย 1 คนเลิกบุหรี่ ประหยัดน้ำ 74 ลิตรต่อวัน

เมื่อวันที่ 18 เม.ย. นพ.จอส ฟอนเดลาร์ ผู้แทนองค์กรอนามัยโลกประจำประเทศไทย เปิดเผยว่า องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศประเด็นการรณรงค์เนื่องในวันงดสูบบุหรี่โลก วันที่ 31 พ.ค. 2565 คือ “ยาสูบ : ภัยคุกคามต่อสิ่งแวดล้อม” มีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องสุขภาพและสิ่งแวดล้อมจากยาสูบ ด้วยการสร้างความตระหนักให้แก่ประชาชนถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากวงจรการปลูก การผลิต การจัดจำหน่ายยาสูบ ของเสีย และขยะที่เกิดจากการสูบบุหรี่ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่จะทำให้คนเลิกสูบบุหรี่อีกด้วย การปลูก การผลิต และการใช้ยาสูบ ก่อมลพิษในแหล่งน้ำ ดิน ชายหาด และถนนหนทาง ซึ่งเกิดจากการปนเปื้อนของสารพิษในดินและน้ำ ขยะก้นบุหรี่ รวมถึงไมโครพลาสติก และขยะจากชิ้นส่วนของบุหรี่ไฟฟ้า รวมถึงต้นไม้เป็นจำนวนมากถูกตัดเพื่อแผ้วถางพื้นที่สำหรับการทำไร่ยาสูบ

“การผลิตบุหรี่ต้องใช้ต้นไม้ 1 ต้น ในการผลิตบุหรี่ 300 มวน ขณะที่กระบวนการผลิตบุหรี่ 1 มวน ต้องใช้ปริมาณน้ำถึง 3.7 ลิตร โดยเฉลี่ยหากนักสูบ 1 คน เลิกสูบบุหรี่ได้ จะช่วยประหยัดน้ำได้ถึง 74 ลิตรต่อวัน นอกจากนี้ ชาวไร่ยาสูบเองก็ได้รับนิโคตินจากการสัมผัสใบยาในปริมาณสูงเทียบเท่าการได้รับจากบุหรี่ 50 มวนต่อวัน มีการประมาณการว่า แต่ละปีมีขยะก้นบุหรี่ถึง 4.5 ล้านล้านชิ้นถูกทิ้งลงสู่สิ่งแวดล้อม” นพ.จอส กล่าว

นพ.จอส กล่าวต่อว่า บุหรี่คร่าชีวิตประชาชนทั่วโลกสูงถึงกว่า 8 ล้านคนต่อปี เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และยังทำลายสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่กระบวนการปลูก การผลิต การจัดจำหน่าย การบริโภค และขยะหลังการบริโภค ซึ่งผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากอุตสาหกรรมยาสูบและจากการสูบบุหรี่นั้น มหาศาลและเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อโลกที่มีทรัพยากรจำกัด และมีระบบนิเวศน์ที่เปราะบางอยู่ก่อนแล้ว ดังนั้น จึงถึงเวลาแล้วที่เราควรจะเลิกบุหรี่เพื่อรักษาสุขภาพและโลกของเรา

Credit : https://mgronline.com/qol/detail/9650000036804


พิมพ์