หมอยืนยัน ภัยจากการสูบบุหรี่ไฟฟ้า ทำปอดพังเร็วตั้งแต่วัยรุ่น

หมอยืนยัน ภัยจากการสูบบุหรี่ไฟฟ้า ทำปอดพังเร็วตั้งแต่วัยรุ่น

SHORT CUT  ผศ.นพ. ชายวุฒิ สววิบูลย์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบบทางเดินหายใจ ระบุว่า การสูบบุหรี่ไฟฟ้าในวัยรุ่นสามารถทำลายปอดได้อย่างรวดเร็ว แม้จะเริ่มสูบในช่วงเวลาสั้น ๆ ก็ตาม
สารเคมีในน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า เช่น นิโคติน ฟอร์มัลดีไฮด์ และโลหะหนัก สามารถกระตุ้นการอักเสบของหลอดลมและถุงลมในปอด เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง มะเร็ง และโรคหัวใจ

แม้บุหรี่ไฟฟ้าจะไม่มีกลิ่นเหม็นหรือควันหนาเหมือนบุหรี่ธรรมดา แต่ไอระเหยที่ปล่อยออกมายังคงมีสารเคมีอันตรายที่สามารถลอยฟุ้งในอากาศและเกาะติดตามเสื้อผ้า เฟอร์นิเจอร์ หรือพื้นผิวต่าง ๆ ซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้ที่อยู่ใกล้ชิด
บุหรี่ไฟฟ้าอาจทำลายปอดถาวรในวัยรุ่น: ผศ.นพ. ชายวุฒิ เตือนภัยเงียบจากควันมือสอง–มือสาม ที่ผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้า และผู้ที่อยู่ใกล้คนสูบไม่ควรมองข้าม"

ในยุคที่คนรุ่นใหม่หันมาใช้บุหรี่ไฟฟ้าแทนบุหรี่มวนด้วยความเข้าใจว่า “ปลอดภัยกว่า” ความจริงบางอย่างกลับถูกมองข้ามไปโดยสิ้นเชิง งานวิจัยจากหลากหลายประเทศชี้ชัดว่า สารเคมีที่ปะปนอยู่ในน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าอาจกระตุ้นให้เกิดการอักเสบของหลอดลมเรื้อรัง ทำลายถุงลม และเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคปอดเรื้อรังในระยะยาว โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นที่ระบบหายใจกำลังพัฒนา

เพื่อสร้างความเข้าใจ และชี้ให้เห็นถึงความร้ายแรงองโรคปอดจากมุมมองของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เราขอพาไปพูดคุยกับ ผศ. นพ.ชายวุฒิ สววิบูลย์ อายุรแพทย์ เฉพาะทางด้านโรคระบบทางเดินหายใจ และภาวะวิกฤตโรคระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลเมดพาร์ค (MedPark Hospital) ถึงข้อเท็จจริงของโรคปอดและผลกระทบจากบุหรี่ไฟฟ้าที่อาจทำให้คุณป่วยโดยไม่รู้ตัวได้ง่าย ๆ

ผศ.นพ. ชายวุฒิ สววิบูลย์ อายุรแพทย์ผู้ชำนาญด้านโรคระบบการหายใจและภาวะวิกฤติโรคระบบการหายใจ จากโรงพยาบาลเมดพาร์ค (MedPark Hospital)
ผศ.นพ. ชายวุฒิ สววิบูลย์ อายุรแพทย์ผู้ชำนาญด้านโรคระบบการหายใจและภาวะวิกฤติโรคระบบการหายใจ จากโรงพยาบาลเมดพาร์ค (MedPark Hospital)

บุหรี่ไฟฟ้าทำระบบทางเดินหายใจเสียหายเร็ว
ผศ. นพ.ชายวุฒิ บอกสิ่งที่น่าสนใจว่า สถิติชัดเจนได้เผยว่าการใช้บุหรี่ไฟฟ้าในกลุ่มเยาวชนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เด็กและเยาวชนสูบกันมากขึ้น และเริ่มใช้ในอายุน้อยลง ซึ่งผลระยะสั้นจะเสี่ยงต่อการเกิดอาการไอ หายใจลำบาก ปอดอักเสบเฉียบพลัน (EVALI) และติดเชื้อทางเดินหายใจง่ายขึ้น

ส่วนในระยะยาว การใช้บุหรี่ไฟฟ้าอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง และโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

ผศ. นพ.ชายวุฒิ ได้ยกตัวอย่างเคสเยาวชนอายุ 18 ปีรายหนึ่งที่ต้องเข้ารับการรักษาในห้อง ICU ตอนแรกผู้ป่วยมาแบบเหมือนเป็นไข้หวัด พอสืบประวัติพบว่าเพิ่งเริ่มสูบบุหรี่ไฟฟ้า และเอกซเรย์พบฝ้าขาวในปอด แต่ปอดกลับได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงจนต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ซึ่งมีอาการ เช่น ไข้ ไอ หายใจลำบาก และแม้ผู้ป่วยรายนั้นจะรอดชีวิต แต่ปอดกลายเป็นพังผืด ซึ่งไม่มีทางรักษาให้หายขาดได้

Credit : https://www.springnews.co.th/news/hot-issue/857982


พิมพ์