การวิเคราะห์ช่องว่างกิจกรรมการควบคุมยาสูบในประเทศไทย พ.ศ.2555-2557

การวิเคราะห์ช่องว่างกิจกรรมการควบคุมยาสูบในประเทศไทย พ.ศ.2555-2557

การวิเคราะห์ช่องว่างกิจกรรมการควบคุมยาสูบในประเทศไทย พ.ศ.2555-2557 โดยศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ ศจย. (กิจกรรมที่ต้องดำเนินการภายใน 3  ปี)

  1. การป้องกันการแทรกแซงนโยบายสาธารณะจากอุตสาหกรรมยาสูบ (A5.3)
    • มาตรการทางกฎหมาย เช่น การแก้ไขกฎหมายควบคุมยาสูบ  หรือมาตรการทางการบริหาร  เช่น  การออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
    • การแทรกแซงทางสังคมต่อความรับผิดชอบองค์กรธุรกิจต่อสังคม และการโฆษณาที่แสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของอุตสาหกรรมยาสูบ
    • การเฝ้าระวังข้อตกลงทางการค้าระหว่างประเทศ
  2. มาตรการในการลดอุปสงค์
    • ให้กระทรวงการคลังออกประกาศกำหนดภาษีตามสภาพ เพื่อปรับราคาบุหรี่ขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 40 บาท
    • เพิ่มอัตราภาษีบุหรี่เป็นร้อยละ 90 ของราคาโรงงาน หรือราคารวมค่าระวางและประกันภัยสินค้า(CIF)  (เพื่อให้ถึงเพดานภาษีตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายฉบับปัจจุบัน)
    • แก้ไขกฎหมายควบคุมยาสูบ (ฉบับ พ.ศ. 2509) เพื่อเก็บภาษีบุหรี่จากยาเส้นพื้นเมือง
    • แก้ไขกฎหมายควบคุมยาสูบ (ฉบับ พ.ศ. 2509) เพื่อใช้ราคาขายปลีกเป็นราคาอ้างอิงในการคำนวณภาษีบุหรี่
    • ให้กระทรวงการคลังออกประกาศขึ้นภาษียาเส้น
    • ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขเกี่ยวกับขนาดมาตรฐานของซองบุหรี่
    • ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขเกี่ยวกับซองบุหรี่แบบเรียบ
    • สร้างความตระหนักให้สาธารณชนเข้าใจความ เสี่ยงด้านสุขภาพจากการบริโภคยาสูบและการสัมผัสกับควันบุหรี่ รวมถึงประโยชน์ของการเลิกบุหรี่และการดำเนินชีวิตโดยปลอดบุหรี่
    • สนับสนุนให้กระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศห้ามการโฆษณา ส่งเสริมการขาย หรือให้ทุนสนับสนุนที่มาจากประเทศไทยข้ามพรมแดน
    • ให้องค์กรของรัฐที่เกี่ยวข้องเปิดเผยค่าใช้จ่ายของอุตสาหกรรมยาสูบที่ใช้โฆษณา ส่งเสริมการขาย หรือให้ทุนสนับสนุน ให้สาธารณชนรับทราบ
  3. มาตรการในการลดอุปทานการลดพิษภัยของผลิตภัณฑ์ยาสูบ
    • ป้องกันการลักลอบค้าบุหรี่ผิดกฎหมายตามแนวชายแดน โดยไม่ยกเว้นภาษีให้กับบุหรี่ที่บรรจุเต็มซองทุกรูปแบบไม่ว่าในกรณีใดๆก็ตาม
    • จัดเก็บภาษีศุลกากรที่ด่านตรวจคนเข้าเมือง
    • ส่งเสริมให้มีมาตรการติดตามตรวจสอบ บันทึก ควบคุมการเก็บรักษา จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาสูบที่ถือครองหรือการเคลื่อนย้ายที่เป็นเหตุให้มีการ ยกเว้นภาษีหรือเลื่อนการตรวจสอบตามกฎหมาย
    • ห้ามไม่ให้โรงงานขายลูกอม ขนม ของเล่น หรือผลิตภัณฑ์ใดๆก็ตามในรูปแบบของบุหรี่ ที่เป็นที่ดึงดูดใจของเยาวชน
    • ห้ามขายบุหรี่เป็นตัวๆ หรือเป็นห่อเล็กๆที่จะทำให้เยาวชนสามารถซื้อผลิตภัณฑ์เหล่านั้นได้
  4. การลดพิษภัยของผลิตภัณฑ์ยาสูบ
  5. การคุ้มครองสุขภาพผู้ที่ไม่สูบบุหรี่
    • การคุ้มครองสุขภาพผู้ที่ไม่สูบบุหรี่
    • เพิ่มเขตปลอดบุหรี่ในสนามบินนานาชาติ
    • ทำการตลาดเพื่อสังคมเรื่องบ้านปลอดบุหรี่
    • รณรงค์สร้างผู้ที่เป็นแบบอย่างในโรงเรียน ผู้นำทางศาสนา ผู้นำองค์กรส่วนท้องถิ่น และอาสาสมัครด้านสุขภาพ
    • จัดให้มีโครงสร้างการปฏิบัติและการประเมินในระดับจังหวัด
  6. การเลิกบุหรี่
    • ประเมินและปรับปรุงการออกแบบสายด่วนเลิกบุหรี่  1600
    • ทำการตลาดเพื่อสังคมเพื่อให้บริการให้คำปรึกษา และบริการเลิกบุหรี่เชิงสร้างสรรค์ที่เยาวชนสามารถเข้าถึงได้
    • ใช้มาตรการทางสังคมให้ผู้สูบบุหรี่ในชนบทเลิกบุหรี่ และจัดให้มีสนับสนุนบริการที่เหมาะสมกับบริบทของสังคมชนบท
    • ส่งเสริมให้มีการใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรในการเลิกบุหรี่อย่างมีประสิทธิภาพ
    • จัดทำแนวปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานในการให้บริการทางการแพทย์ และบริการด้านอื่นๆในการเลิกบุหรี่
    • ใช้กลไกทางการเงินในการส่งเสริมการเข้าถึงบริการเลิกบุหรี่ที่มีคุณภาพ

 


พิมพ์