Press release ศจย.

Press Release ปกป้องเด็กจากภัยบุหรี่ไฟฟ้า

Press Release ปกป้องเด็กจากภัยบุหรี่ไฟฟ้า

คณะทำงานวิชาการ ของศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) ผศ.ดร.วรรณภา นาราเวช อาจารย์ประจำคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า จากการทบทวนงานวิจัยผลกระทบของนิโคตินในบุหรี่ไฟฟ้า พบว่าการได้รับนิโคตินจากบุหรี่รวมถึงบุหรี่ไฟฟ้าในเด็กและเยาวชนมีผลต่อทั้งร่างกาย พัฒนาการด้านสมอง

นักวิชาการชี้ “สูบบุหรี่มวนเดียวกัน เสี่ยงติดโควิด-19” “ก้นกรองบุหรี่ ไม่ช่วยลดอันตราย”

นักวิชาการชี้ “สูบบุหรี่มวนเดียวกัน เสี่ยงติดโควิด-19” “ก้นกรองบุหรี่ ไม่ช่วยลดอันตราย”

สูบบุหรี่มวนเดียวกัน เสี่ยงติดโควิด-19 : รศ.ดร.สสิธร เทพตระการพร คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และหัวหน้าคณะทำงานพัฒนาศักยภาพนักวิจัยและวิชาการประจำภาคกลาง ของ ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) กล่าวว่า จากการายงานสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 ณ วันที่ 16 ม.ค. 2564 พบผู้ติดเชื้อสะสมประมาณ 94.5 ล้านคน

9 ม.ค. วันเด็กแห่งชาติ : ห่วงเด็กอนาคตของชาติเข้าถึงบุหรี่ง่าย ขอรัฐตระหนักอย่างจริงจัง

9 ม.ค. วันเด็กแห่งชาติ : ห่วงเด็กอนาคตของชาติเข้าถึงบุหรี่ง่าย ขอรัฐตระหนักอย่างจริงจัง

ห่วงเด็กไทยเข้าถึงบุหรี่ง่าย ลักลอบซื้อบุหรี่แบ่งขายเป็นมวน 9 มกราคม “วันเด็กแห่งชาติ” ขอให้ภาครัฐตระหนักปัญหาการสูบบุหรี่ของเด็ก ซึ่งเป็นอนาคตของประเทศไทยจริงจัง ผศ.ดร.จักรพันธ์ เพ็ชรภูมิ อาจารย์ประจำคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวถึง ผลการวิจัย “ปัจจัยพหุระดับที่มีอิทธิพลต่อการเข้าถึงผลิตภัณฑ์ยาสูบของเด็กไทย”

คุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ในอาคารชุด

คุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ในอาคารชุด

ภาคีเครือข่ายควบคุมยาสูบ กระตุ้นเตือนปัญหาควันบุหรี่ในอาคารชุด ชาวคอนโด อพาร์ทเมนท์ 89% เห็นด้วย หนุน “อาคารชุดเป็นสถานที่ปลอดบุหรี่” ส่วนใหญ่เคยรับควันบุหรี่มือสองในพื้นที่ส่วนกลาง พบ 77% รู้สึกไม่สบายจากการหายใจที่มีผู้สูบบุหรี่ในอาคารชุด ชี้สูบบุหรี่ได้แต่ต้องไม่กระทบสิทธิผู้อื่น เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2563 ที่ โรงแรมเดอะสุโกศล กรุงเทพฯ สถาบันส่งเสริมสุขภาพไทย มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (สสท.) สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

หนุนพยาบาลช่วยดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง/ประชาชนให้เลิกบุหรี่เพื่อสุขภาพและป้องกัน COVID-19

หนุนพยาบาลช่วยดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง/ประชาชนให้เลิกบุหรี่เพื่อสุขภาพและป้องกัน COVID-19

ศ.นพ.รณชัย คงสกนธ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) กล่าวว่า การสูบบุหรี่ทำให้ให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีอาการของโรครุนแรงเพิ่มขึ้นและเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโอกาสติดเชื้อ COVID-19 ได้ง่ายขึ้นจากการสัมผัสเชื้อจากมือที่คีบบุหรี่สู่ปากเข้าไปสู่อวัยวะต่างๆ ของร่างกาย ที่สำคัญที่สุดคือ ปอด ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดการเจ็บป่วยเพิ่มขึ้น

การแถลงข่าว “ปฏิรูปวิถีแรงงาน เลิกสูบ เลิกจน”

การแถลงข่าว “ปฏิรูปวิถีแรงงาน เลิกสูบ เลิกจน”

สสส. ศจย. ชวนปฏิรูปวิถีแรงงาน “เลิกสูบ เลิกจน” ผ่านกลไกสมาพันธ์จังหวัดภายใต้สมาพันธ์เครือข่ายแห่งชาติเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ ชี้ บุหรี่บั่นทอนสุขภาพ สร้างภาระรายจ่าย หลังสำรวจพบวิกฤตโควิด-19 ทำแรงงานสูญเสียรายได้และเกิดภาวะเครียดจึงทำให้สูบบุหรี่ลดลง แรงงานเกือบ ร้อยละ 65 วางแผนเลิกสูบ

ห่วง “พิษควันบุหรี่ในบ้าน” หนุน “มาตรการส่งเสริมบ้านปลอดบุหรี่”

ห่วง “พิษควันบุหรี่ในบ้าน” หนุน “มาตรการส่งเสริมบ้านปลอดบุหรี่”

ศ.นพ.รณชัย คงสกนธ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและจัดการวามรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) กล่าวว่า องค์การอนามัยโลกให้ความสำคัญอย่างมากกับการส่งเสริมให้ ‘บ้านปลอดบุหรี่’ เพราะนอกจากจะช่วยลดความเสี่ยงรับควันบุหรี่มือสองของสมาชิกในบ้าน ยังทำให้สมาชิกในบ้านที่สูบบุหรี่สามารถลดและเลิกบุหรี่สำเร็จ นอกจากนี้ยังสามารถปกป้องเยาวชนในบ้านไม่ให้ทดลองสูบบุหรี่

แถลงข่าว โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันอุดมศึกษาต้นแบบเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่

แถลงข่าว โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันอุดมศึกษาต้นแบบเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่

วันนี้ (23 กันยายน 2563) เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุม 910 ชั้น 9 อาคารเรียนและปฏิบัติการรวมด้านการแพทย์และโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดแถลงข่าว

ปกป้องสตรีไทย จากภัยควันบุหรี่มือสอง

ปกป้องสตรีไทย จากภัยควันบุหรี่มือสอง

ศ.นพ.รณชัย คงสกนธ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) กล่าวว่า องค์การอนามัยโลกประเมินว่ามีคนทั่วโลกเสียชีวิตจากควันบุหรี่มือสองกว่า 1.2 ล้านคน ซึ่งสตรีที่มีคนในครอบครัวสูบบุหรี่มีโอกาสได้รับอันตรายจากควันบุหรี่มือสอง โดยควันบุหรี่มือสองมีอันตรายเทียบเท่ากับการสูบบุหรี่ ซึ่งสำนักงานสถิติแห่งชาติได้ทำการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของประชากรไทย ปี พ.ศ.2560 พบว่า ส่วนใหญ่ผู้สูบบุหรี่เป็นเพศชาย โดยผู้ชายสูบบุหรี่ขณะอยู่ในบริเวณบ้าน

X

Main Menu