ศบค. เตือนบุหรี่-บุหรี่ไฟฟ้า มีความเสี่ยงให้ผู้ป่วยโควิดเสียชีวิต

ศบค. เตือนบุหรี่-บุหรี่ไฟฟ้า มีความเสี่ยงให้ผู้ป่วยโควิดเสียชีวิต

ศบค. เตือนบุหรี่-บุหรี่ไฟฟ้า มีความเสี่ยงให้ผู้ป่วยโควิดเสียชีวิต ภาพรวมระดมวัคซีน 2 เข็ม สะสมได้ 21 ล้านโดส คิดเป็น 30% ฝากผู้ปกครองเฝ้าระวังอาการเด็กหลังรับ วัคซีนไฟเซอร์ ชี้ฉีดวัคซีนเสี่ยงน้อยกว่าติดโดวิด แนะสร้างภูมิรับเปิดเทอม พ.ย.นี้

เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2564 พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. กล่าวว่า สำหรับการรายงานผู้ป่วยโควิด -19 ที่เสียชีวิตนั้นยังคงเป็นเช่นเดิมคือ อายุและโรคประจำตัวเป็นความเสี่ยงหลัก ได้แก่ผู้ที่อายุ 60 ปีขึ้นไป และผู้ที่มีโรคประจำตัว 7 โรค คิดเป็น 94% ของผู้เสียชีวิต นอกจากนี้ มีข้อมูลเพิ่มเติมว่า ผู้ป่วยโควิด-19ที่เสียชีวิต มีประวัติการสูบบุหรี่

ดังนั้น วันนี้ (6 ตุลาคม ) สมาพันธ์เครือข่ายแห่งชาติเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ ได้ออกแถลงการณ์เน้นย้ำว่า บุหรี่ และ บุหรี่ไฟฟ้า มีอันตรายทำให้สภาวะทำให้พยาธิสภาพปอดนั้นผิดปกติ ประชาชนที่ติดเชื้อโควิด-19 สามารถเกิดอาการปอดอักเสบ ปอดบวม และ ระบบหายใจล้มเหลว อย่างรวดเร็วและทำให้เสียชีวิตได้ และ สิ่งที่สมาพันธ์ฯ เน้นย้ำคือบุหรี่ไฟฟ้า คนจะเข้าใจว่าไม่มีอันตราย หลายคนเอามาเป็นตัวช่วยให้เลิกสูบบุหรี่ ซึ่งบุหรี่ไฟฟ้าอันตรายไม่ต่างจากบุหรี่ทั่วไปทำให้เกิดโรคประจำตัวมากมาย รวมทั้งโรคมะเร็งด้วย และ บุหรี่ไฟฟ้าไม่สามารถช่วยเลิกบุหรี่ได้ แต่จะทำให้ติดทั้งบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งจะทำให้ปอดพังเข้าไปอีก

สิ่งสำคัญถ้าทุกท่านติดตามการประชาสัมพันธ์ก็จะเห็นบุหรี่ไฟฟ้าผู้ขาย มุ่งเป้าไปที่กลุ่มเยาวชน และ การที่ผู้ปกครองเฝ้าระวังรู้เท่าทันบริษัทก็จะช่วยปกป้องสุขสภาพลูกหลานได้ เช่น การมุ่งเป่าไปที่เยาวชนนั้น เวลาเขาทำตัวทำละลาย หรือ สารที่ผสมเข้าไปในบุหรี่ไฟฟ้า เขาออกแบบมาให้เป็นรสสตรอเบอร์รี่ หรือ ช็อกโกแลต คนทั่วโลกตระหนักถึงพิษภัยของบุหรี่ก็พยายามจะเลิก ดังนั้นบริษัทบุหรี่ก็พยายามจะพุ่งเป้าไปยังนักสูบหน้าใหม่ก็คือ ลูกหลานที่เป็นอนาคตของประเทศชาตินั่นเอง

ด้านรายงานสรุปตัวเลขผู้ได้รับวัคซีนโควิด-19ของไทย เมือวันที่ 5 ตุลาคม เวลา 18.00 น. เพิ่มขึ้น 734,804 โดส ทำให้มียอดสะสม ตั้งแต่ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 56,656,247 โดส คิดเป็น 46.5% ของประชากร โดสมีจำนวนผู้ได้รับวัคซีนเข็มที่ 2 สะสม 21,595,916 โดส คิดเป็น 30.0% ของประชากร

พญ.อภิสมัย กล่าวว่า และตั้งแต่วันที่ 4 ตุลาคม มีการระดมฉีดวัคซีน ในเด็ก อายุ 12-17ปี ได้แล้ว ขอย้ำไปยังผู้ปกครองและเดกที่รับวัคซีนแล้ว ให้สังเกตอาการตัวเองด้วย เนื่องจากวัคซีนที่ฉีดให้คือ ยี่ห้อ ไฟเซอร์ ที่เคยมีรายงานเรื่องผลหลังรับวัคซีน แล้วมีการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ อาทิสหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ อาการคือ เจ็บแน่นหน้าอก หรือหน้ามืด เป็นลม ต้องคอยเฝ้า สังเกตอาการหลังรับวัคซีนไปแล้ว 1 สัปดาห์ หากทีอาการให้แจ้งผู้ปกครองและไปโรงพยาบาลใกล้บ้านให้เร็วที่สุด และอย่างลืมให้ข้อมูลกับแพทย์ด้วยว่าได้รับวัคซีน ไฟเซอร์ ไปในวันที่เท่าไหร่ด้วย

“ซึ่งมีรายงานว่า ตั้งแต่วันที่ 4 ตุลาคม มีเด็กที่ได้รับวัคซีนสะสมแล้ว 3 หมื่นราย โดยมีผู้ปกครองลงทะเบียนและยินยอมรับวัคซีน 3.5 ล้านราย และเหลือที่ยังไม่ลงทะเบียนอีกเกือบ 1 ล้านราย หากบางครอบครัวยังขอเวลาหาข้อมูล และปรึกษาแพทย์เจ้าของไข้อยู่นั้น สามารถทำได้ และเมื่อตัดสินใจและพร้อมรับวัคซีนแล้ว สามารถติดต่อขอรับวัคซีนได้ตลอด ข้อมูลเพิ่มเติมคือโอกาสเกิดอาการไม่พึงประสงค์ในเด็กเกิดขึ้นได้แต่น้อย ซึ่งเด็กติดเชื้อมีการอักเสบอวัยวะต่างๆ คิดเป็น 16 ต่อแสน แต่เมื่อรับวัคซีนแล้ว โอกาสเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบน้อยกว่าการติดเชื้อ 6 เท่า ดังนั้นอัตราเสี่ยงจากการฉีดวัคซีนน้อยกว่าอาการเสี่ยงจากโรคติดโควิดอย่างมาก จึงแนะนำเข้ารับวัคซีนเพื่อเป็นภูมิคุ้มกันนำไปสู่การเปิดโรงเรียนในช่วงเดือนพฤศจิกายนนี้” พญ.อภิสมัย กล่าว

Credit : https://www.matichon.co.th/covid19/thai-covid19/news_2977040


พิมพ์