กระทรวงศึกษาธิการเห็นด้วยกับมาตรการห้ามนำเข้าและห้ามจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทย

กระทรวงศึกษาธิการเห็นด้วยกับมาตรการห้ามนำเข้าและห้ามจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทย

ดร.ชนะ สุ่มมาตย์ ผู้อำนวยการศูนย์ความปลอดภัย กระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการ ในงานเสวนาวิชาการ การจัดการปัจจัยเสี่ยงปัญหาบุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้าในเด็กและเยาวชน จัดโดย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2565 แสดงจุดยืนของกระทรวงศึกษาธิการเห็นด้วยกับมาตรการห้ามนำเข้าและห้ามจำหน่าย

บุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทย กระทรวงศึกษาธิการได้มีนโยบายเข้มงวดเรื่องการควบคุมการบริโภคยาสูบในสถานศึกษาที่ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 ที่กำหนด 7 มาตรการที่ทุกสถานศึกษาต้องยึดปฏิบัติ ได้แก่ 1. ให้สถานศึกษาดำเนินการตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 2. ให้สถานศึกษาทุกระดับเป็นสถานที่ปลอดจากการสูบบุหรี่ 3. ผู้บริหารสถานศึกษา ครู อาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา ต้องปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างแก่นักเรียน ไม่สูบบุหรี่ในสถานศึกษา 4. ห้ามนักเรียน นักศึกษาสูบบุหรี่ขณะที่สวมเครื่องแบบของสถานศึกษา 5. สถานศึกษาต้องสอดแทรกและเน้นย้ำเรื่องพิษภัยของการสูบบุหรี่ในการเรียนการสอนทุกระดับ

สถานศึกษาทุกแห่งต้องมีการจัดกิจกรรมรณรงค์ สร้างวัฒนธรรมเพื่อการเรียนรู้ด้านพิษภัยจากบุหรี่ ติดป้ายห้ามสูบบุหรี่ในบริเวณสถานศึกษาทุกระดับและ 7. ให้สถานศึกษาสนับสนุนการผลิตสื่อนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ด้านพิษภัยของบุหรี่ รวมถึงการวิจัยกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านสุขภาพ ตลอดจนโครงการสถานศึกษาสีขาวที่เป็นนโยบายที่มีการดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง ที่มุ่งเน้น การสร้างสถานศึกษาให้ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ซึ่งก็มีกิจกรรมที่รวมถึงการควบคุมการสูบบุหรี่ในสถานศึกษาด้วยเช่นกัน เมื่อมีการแพร่ระบาดของบุหรี่ไฟฟ้า ตนเองในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ความปลอดภัย กระทรวงศึกษาธิการ ที่มีภารกิจในการปกป้อง คุ้มครองความปลอดภัยทั้งด้านร่างกายและจิตใจ รวมถึงการเสริมสร้างทักษะให้ผู้เรียนมีความสามารถในการดูแลตนเองจากภัยอันตรายต่างๆ ได้ดำเนินการเข้มงวดกวดขันเรื่องบุหรี่ไฟฟ้า โดยเน้นการให้ความรู้เกี่ยวกับพิษภัยแก่ทั้งนักเรียน ครู อาจารย์ รวมถึงผู้ปกครอง และให้ร่วมกันเฝ้าระวังพฤติกรรมการเสพติดบุหรี่ไฟฟ้าของนักเรียน ทั้งนี้เพราะบุหรี่ไฟฟ้ามีผลกระทบต่อพัฒนาการของสมองเด็กและเยาวชน และจะส่งผลต่อการเรียน เกิดปัญหาด้านจิตใจ เช่น ภาวะซึมเศร้า นอกจากนี้ยังพบว่าบุหรี่ไฟฟ้าเป็นต้นทางสู่การสูบบุหรี่ธรรมดาและสารเสพติดชนิดอื่น ๆ ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาสังคมที่ร้ายแรงตามมาในอนาคต........

Credit : https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_3199429


พิมพ์