การแถลงข่าว “ปฏิรูปวิถีแรงงาน เลิกสูบ เลิกจน”

การแถลงข่าว “ปฏิรูปวิถีแรงงาน เลิกสูบ เลิกจน”

(12 ตุลาคม 2563) ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี จัดการแถลงข่าว “ปฏิรูปวิถีแรงงาน เลิกสูบ เลิกจน” เพื่อเชิญชวนกลุ่มผู้ใช้แรงงานปฏิรูปวิถีชีวิตเพื่อเลิกสูบบุหรี่อย่างถาวร โดยมี -ศ.นพ.รณชัย คงสกนธ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวถึงที่มาและความสำคัญของการควบคุมยาสูบในกลุ่มแรงงานไทย

  • รศ.ดร.แล ดิลกวิทยรัตน์ กรรมการบริหารแผน 1 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพและกรรมการกำกับทิศทางของ ศจย. กล่าวในหัวข้อ “สถานการณ์โลกปัญหายาสูบและความยากจน”
  • ดร.ณัฐพล แย้มฉิม ประธานสวนดุสิตโพล รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมการบริโภคยาสูบของกลุ่มผู้ใช้แรงานหลังสถานการณ์โควิด-19
  • นายอนุชิต ธูปเหลือง รองประธานสหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจแห่งประเทศไทย กล่าวในหัวข้อ “แรงงานไทยเลิกบุหรี่”
  • ดร.วศิน พิพัฒนฉัตร ผู้ช่วย ผู้อำนวยการ ศจย.และอาจารย์พิเศษคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ศ.นพ.รณชัย คงสกนธ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า ศจย.ให้ความสำคัญกับกลุ่มผู้ใช้แรงงานของประเทศ เพราะมีบทบาทหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ และบุหรี่เป็นปัจจัยหนึ่งของต้นตอปัญหาทางเศรษฐกิจในกลุ่มผู้ใช้แรงงาน ดังนั้น ศจย.จึงร่วมกับสวนดุสิตโพล สำรวจพฤติกรรมการบริโภคยาสูบของกลุ่มผู้ใช้แรงงานทั้งในและนอกระบบ และจะนำผลสำรวจนี้มาพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานควบคุมยาสูบในกลุ่มผู้ใช้แรงงานของประเทศให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยจะร่วมมือกับสมาพันธ์เครือข่ายแห่งชาติเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ ในการเชิญชวนกลุ่มผู้ใช้แรงงานปฏิรูปวิถีชีวิต “เลิกสูบ เลิกจน” โดยขับเคลื่อนผ่านกลไกของสมาพันธ์จังหวัดในการส่งต่อคนอยากเลิกบุหรี่ไปยังสายด่วนเลิกบุหรี่ 1600 เพื่อสนับสนุนให้ผู้ที่เลิกบุหรี่ได้สำเร็จ พร้อมระบุว่าแม้ขณะนี้ สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทยจะทุเลาลงบ้าง แต่ในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านยังพบการระบาดอย่างต่อเนื่อง และมีงานวิจัยต่าง ๆ มากมายที่ยืนยันว่า การสูบบุหรี่เสี่ยงต่อการติดโควิด 19 และความรุนแรงของโรค


พิมพ์