ศจย.และภาคีต้านบุหรี่ หนุนรัฐ “ขึ้นภาษียาเส้น” เป็นวาระแห่งชาติ

ศจย.และภาคีต้านบุหรี่ หนุนรัฐ “ขึ้นภาษียาเส้น” เป็นวาระแห่งชาติ

ศจย.และภาคีต้านบุหรี่ หนุนรัฐ “ขึ้นภาษียาเส้น” เป็นวาระแห่งชาติ | เมื่อรัฐบาลโหมโรง “ขึ้นภาษียาเส้น” ครั้งแรกในรอบหลายสิบปี เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ส่งสัญญาณบวกต่อองค์กรด้านสาธารณสุข และกลุ่มภาคีเครือข่ายต่อต้านการสูบบุหรี่ บ่งชี้ว่านับจากนี้ “อุปสรรค” ใหญ่ที่ทำให้ไทยไม่สามารถลดอัตราการบริโภคยาสูบได้ตามเป้าหมายขององค์การอนามัยโลก

จะถูกจัดการอย่างจริงจัง
ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวว่า ยาเส้นเป็นปัญหาใหญ่ถ่วงอัตราการบริโภคยาสูบของไทยลดลงได้ยากและช้า เพราะมาตรการภาษีใหม่ที่รัฐบาลเพิ่งประกาศใช้ไม่ได้ทำให้ราคายาเส้นสูงขึ้นในระดับที่จะทำให้คนชะลอการบริโภคยิ่งบุหรี่แพงมาก ก็เริ่มหันมาหายาเส้นเป็นสินค้าทดแทน และย้ำว่าหากรัฐบาลถือเอาความมีสุขภาพของประชาชนเป็นสำคัญ ก็ถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลต้องจริงจังและเข้มข้นในการจัดการยาเส้นให้เป็นรูปธรรมและมีขั้นตอนชัดเจน
ดร.วศิน พิพัฒนฉัตร ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) กล่าวว่า มีความเป็นไปได้มากที่ทุกฝ่ายจะพยายามผลักดันให้การขึ้นภาษียาเส้นเป็นวาระแห่งชาติ เพราะเป็นเรื่องที่มีผลโดยตรงต่อสุขภาพของประชาชน หลายปีที่ผ่านมาการรณรงค์ด้านการสูบบุหรี่ไม่ได้มีการพูดถึงการลดหรือต้านการสูบยาเส้น ทั้งที่ยาสูบทั้งสองกลุ่มเป็นอันตรายต่อสุขภาพเหมือนกัน และจำนวนเกือบครึ่งของผู้สูบทั้งหมดเป็นคนสูบยาเส้น ความเสียหายทางเศรษฐกิจเกิดขึ้นในสถานะเดียวกันเพราะรัฐบาลต้องจัดงบประมาณดูแลสุขภาพผู้ป่วยด้วยโรคที่เกิดจากการบริโภคยาสูบแต่ละปีมากกว่า 70,000 ล้านบาท และตัวเลขนี้ก็เพิ่มขึ้นทุกปี
“หน้าที่ของ ศจย.คือ การสร้างงานวิจัยเพื่อสนับสนุนนโยบายรัฐบาลในการควบคุมยาสูบ” แม้ว่าปัจจุบันจะมีการขึ้นภาษียาเส้นตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2562 โดยขึ้นภาษีตามปริมาณจาก 0.005 บาทต่อกรัม เป็น 0.10 บาทต่อกรัม แต่ก็พบว่าราคาขายปลีกยาเส้นยังคงอยู่ในระดับไม่สูงมากจนทำให้ไม่สามารถลดการบริโภคยาเส้นลงได้
ดังนั้นการจัดการ “ยาเส้น” สามารถดำเนินการในแนวทางเดียวกับที่รัฐบาลจัดการ “บุหรี่” คือการใช้มาตรการภาษีควบคู่ไปกับมาตรการสังคม การรณรงค์ห้ามสูบยาเส้น และการให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่ประชาชนแก่ชุมชนถึงอันตรายของยาเส้นที่มีต่อสุขภาพแบบเดียวกับที่ทำกับบุหรี่
“หากจะใช้มาตรการภาษีกับยาเส้นรัฐบาลควรกำหนดเป้าหมายอัตราภาษียาเส้นให้ใกล้เคียงกับอัตราภาษีบุหรี่เพื่อลดการใช้สินค้าทดแทน การทำแบบนี้ต้องใช้เวลาในการปรับขึ้นภาษีและใช้การขึ้นภาษีแบบขั้นบันได” และยกตัวอย่างการเก็บภาษียาเส้นของประเทศออสเตรเลีย เพื่อให้ใกล้เคียงกับบุหรี่ จะใช้วิธีการขึ้นภาษีโดยแบ่งระยะเวลามากกว่า 4 ปี เริ่มปี 2560 – 2563 เพื่อให้สอดคล้องกับการขึ้นภาษีสินค้ายาสูบ 12.5% ซึ่งจะขึ้นในวันที่ 1 กันยายน ของทุกปี

1907


ดร.วศิน กล่าวปิดท้ายในประเด็นนี้ว่า ศจย.ได้ศึกษาเรื่อง พืชเศรษฐกิจชนิดต่างๆที่สามารถปลูกทดแทนยาสูบได้ พร้อมทั้งมีการเสนอข้อมูลรอบด้านเพื่อแก้ปัญหาซ้ำเดิมที่ชาวไร่ยาสูบเคยเผชิญเมื่อต้องเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่นในพื้นที่ปลูกยาสูบ โดยจะส่งข้อมูลศึกษาวิจัยชุดนี้ให้รัฐบาลใช้พิจารณาเป็นแนวทางในการบริหารจัดการภาษีสรรพสามิตผลิตภัณฑ์ยาสูบในระยะต่อไป


พิมพ์