อึ้ง 9 ขวบสูบบุหรี่ไฟฟ้า จิตแพทย์ แนะ 7 วิธีป้องกัน ชี้สูบอายุน้อยกระทบสมอง

อึ้ง 9 ขวบสูบบุหรี่ไฟฟ้า จิตแพทย์ แนะ 7 วิธีป้องกัน ชี้สูบอายุน้อยกระทบสมอง

จิตแพทย์เด็ก เล่าแม่ใจแทบสลาย “ลูกน้อยวัย 9 ขวบ สูบบุหรี่ไฟฟ้า” แนะ 7 วิธีป้องกัน ชี้เด็กสูบบุหรี่ก่อนอายุ 14 ปี มีผลต่อสมอง วอนรัฐเข้มแข็งห้ามขาย ห้ามนำเข้า-ขาย บุหรี่ไฟฟ้าเมื่อวันที่ 4 ส.ค. 2566 รศ.นพ.ศิริไชย หงษ์สงวนศรี หัวหน้าหน่วยจิตวิทยาเด็กและวัยรุ่น ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี

กล่าวว่าจากกรณีคุณแม่โพสต์เข้ามาในเพจจิตวิทยาเด็กและครอบครัว ที่ใจแทบสลายเมื่อทราบว่าลูกสาววัย 9 ขวบ สูบบุหรี่ไฟฟ้ากับเพื่อนที่โรงเรียน ในฐานะจิตแพทย์เด็กรู้สึกเห็นใจคุณแม่เป็นอย่างยิ่ง และรู้สึกสะเทือนใจอย่างมากที่รับทราบว่ามีเรื่องราวเช่นนี้เกิดขึ้นกับเด็กไทยของเรา

จึงขอให้คำแนะนำคุณพ่อคุณแม่ทุกคนดังนี้ 1.เด็กและวัยรุ่นไทยสูบบุหรี่ไฟฟ้ามากขึ้นจริง พ่อแม่ของลูกทุกวัยจะประมาทคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัวต่อไปอีกไม่ได้ เพราะสังคมรอบตัวของลูกมีผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้ากันมาก และมีค่านิยมสนับสนุนว่าเป็นเรื่องทันสมัย ลูกอาจคล้อยตามและอยากลองสูบเมื่อมีเพื่อนหรือคนอื่นมาชักชวนพ่อแม่ต้องมีเวลาใกล้ชิดพูดคุยกับลูกอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งเรื่องพิษภัยของบุหรี่ไฟฟ้า และทักษะการปฏิเสธ 3.หมั่นสังเกตพฤติกรรมของลูกที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น อารมณ์ขึ้น ๆ ลง ๆ ก้าวร้าว สนใจการเรียนลดลง รวมทั้งพฤติกรรมที่อาจเกี่ยวข้องกับบุหรี่ไฟฟ้า เช่น มีกลิ่นหอมผิดปกติติดตัว พ่อแม่ต้องรู้จักอุปกรณ์สำหรับสูบบุหรี่ไฟฟ้า เช่น ล็อกเก็ตห้อยคอสีสวยงาม แต่ต้องหลีกเลี่ยงการทำให้ลูกรู้สึกว่าถูกจับผิด

รศ.นพ.ศิริไชย กล่าวต่อว่า 4.ลดความเครียดที่ไม่จำเป็น เช่น การตำหนิลูกทุกเรื่องพร่ำเพรื่อ เปรียบเทียบกับเด็กคนอื่น การกดดันเรื่องการเรียน ความเครียดเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่นำไปสู่การสูบบุหรี่ไฟฟ้าได้ 5.สร้างความนับถือตนเองให้ลูก ความภาคภูมิใจในตนเองจะช่วยป้องกันปัญหาการเสพติดได้เป็นอย่างดีความสัมพันธ์ที่ดีและการพูดคุยด้วยเหตุผล ไม่ใช้อารมณ์หรือความรุนแรง สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ให้ลูกได้เป็นอย่างดี หากต้องการความช่วยเหลือ โทรสายด่วนสุขภาพจิต 1323 หรือสายด่วนเลิกบุหรี่ 1600 7.สำคัญที่สุดคือ พ่อแม่ต้องช่วยกันส่งเสียงถึงรัฐบาลใหม่ว่า ‘ลูกหลานไทยไม่เอาบุหรี่ไฟฟ้า’ ขอให้รัฐบาลคงกฎหมายห้ามนำเข้า ห้ามขาย ห้ามโฆษณาบุหรี่ไฟฟ้า และบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด เพื่อปกป้องเยาวชนไทย


ผศ.ดร.นพ.วิชช์ เกษมทรัพย์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) กล่าวว่า นิโคตินในบุหรี่ไฟฟ้าทำให้เกิดการเสพติดและเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อสมองที่กำลังพัฒนาของเด็ก สมองของเด็กมีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบมากขึ้นหากเริ่มสูบบุหรี่ไฟฟ้าก่อนอายุ 14 ปี เด็กที่เคยสูบบุหรี่ไฟฟ้าพบว่ามีแนวโน้มที่ประสิทธิภาพการทำงานของสมองลดลงมากกว่าเด็กที่ไม่เคยสูบสูงถึง 3-4 เท่า

ดังนั้นการสูบบุหรี่ไฟฟ้าของเด็กจึงเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงอย่างมาก พ่อแม่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำเป็นต้องเข้าไปป้องกันตั้งแต่แรก ๆ ซึ่งการป้องกันที่ดีที่สุดคือ รัฐต้องห้ามนำเข้าบุหรี่ไฟฟ้า และเร่งรัดการบังคับใช้กฎหมายให้เคร่งครัดทั้งห้ามขายห้ามโฆษณาบุหรี่ไฟฟ้าทุกกรณี

Credit : https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_7849467


พิมพ์